การนำแนวทางการส่งเสริมโภชนาการไปใช้ในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

วัตถุประสงค์ของการวิจัย : เพื่อพัฒนาและนำแนวทางการส่งเสริมโภชนาการไปใช้ในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย และร้อยละของน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน การออกแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การดำเน...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: สมสิริ รุ่งอมรรัตน์
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/30129
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์ของการวิจัย : เพื่อพัฒนาและนำแนวทางการส่งเสริมโภชนาการไปใช้ในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย และร้อยละของน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน การออกแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การดำเนินการวิจัย: แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1) ระยะพัฒนาแนวทางการส่งเสริมโภชนาการ โดยการสนทนากลุ่มของครู/ผู้ดูแลเด็กและแม่ครัวรวม 10 คน ผู้ปกครอง 3 คน พยาบาล 1 คน และ 2) ระยะนำแนวทางมาใช้ตามกระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของ Kolb กับผู้ปกครองของเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย และน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กด้วยสถิติWilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัย ระยะที่ 1 ได้แนวทางการส่งเสริมโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และการโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน ระยะที่ 2 พบว่าสาเหตุของภาวะโภชนาการเกินคือ ขาดความรู้เกี่ยวกับโภชนาการสำหรับเด็กและการเลี้ยงดูแบบตามใจ การนำใช้แนวทางไปใช้พบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย และน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมไม่แตกต่างกัน (p>.05) ข้อเสนอแนะ การนำแนวทางการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กที่มีโภชนาการเกินควรให้สมาชิกในครอบครัวทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวทางของตนเอง และมีข้อตกลงร่วมกันในการดูแลเด็ก วารสารสภาการพยาบาล 2560; 32(4) 120-133