อิทธิพลของการรับรู้ความรุนแรงของอาการการสนับสนุนทางสังคมและความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัย การรับรู้ความรุนแรงของอาการ การสนับสนุนทางสังคม ต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และอิทธิพลของความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยต่อภาวะสุขภาพผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังรูปแบบงานวิจัย: การวิจัยเชิงความสัมพันธ์พยากรณ์ วิธีดำเนินงานวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อมรรัตน์ นาคละมัย, Amornrat Naklamai, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, Doungrut Wattanakitkrileart, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, Kanaungnit Pongthavornkamol, เจริญ ชูโชติถาวร, Charoen Chuchottaworn
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/3338
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัย การรับรู้ความรุนแรงของอาการ การสนับสนุนทางสังคม ต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และอิทธิพลของความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยต่อภาวะสุขภาพผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังรูปแบบงานวิจัย: การวิจัยเชิงความสัมพันธ์พยากรณ์ วิธีดำเนินงานวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเข้ารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกสถาบันโรคทรวงอก จังหวัดนนทบุรี จำนวน 85 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของอาการแบบวัดความช่วยเหลือทางสังคมแบบพหุมิติ แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยและแบบสอบถามภาวะสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาการหายใจของเซ็นต์จอร์จ (St.George) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผลการวิจัย: พบว่าการรับรู้ความรุนแรงของอาการไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย (r = - .1, p > .05)การสนับสนุนทางสังคมสามารถทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยได้ร้อยละ 9.4 (R2= 0.094, p< .05) และความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยมีอำนาจในการทำนายภาวะสุขภาพในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ร้อยละ 9.3 (R2= 0.093, p< .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรหาแนวทางในการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมและการจัดการกับอาการหายใจลำบาก เพื่อลดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยทั้งในด้านความคลุมเครือเกี่ยวกับภาวะการเจ็บป่วยและด้านการไม่สามารถทำนายการเจ็บป่วย การรักษาและผลของการรักษา โดยการพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีประสิทธิภาพหรือการส่งเสริมสุขภาพผู้ดูแล และบุคลากรสุขภาพซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะสุขภาพดี