การทบทวนกฎหมายและนโยบายด้านผู้สูงอายุสู่การจัดการสุขภาพ

ข้อมูลสถิติผู้สูงอายุในประเทศไทยชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ประเทศไทยได้มีการบัญญัติพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 โดยกำหนดให้ผู้สูงอายุมีสิทธิที่ได้รับ การคุ้มครอง ส่งเสริมและสนับสนุนในด้านต่างๆ เช่น บริการสุขภาพ บริการด้านสังคม การช่วยเหลือ หรือยกเว้นค่าบริการสาธารณ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, Chardsumon Prutipinyo
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/36881
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:ข้อมูลสถิติผู้สูงอายุในประเทศไทยชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ประเทศไทยได้มีการบัญญัติพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 โดยกำหนดให้ผู้สูงอายุมีสิทธิที่ได้รับ การคุ้มครอง ส่งเสริมและสนับสนุนในด้านต่างๆ เช่น บริการสุขภาพ บริการด้านสังคม การช่วยเหลือ หรือยกเว้นค่าบริการสาธารณะต่างๆ การได้รับการสงเคราะห์ในด้านที่อยู่อาศัย เบี้ยยังชีพ เป็นต้น มี การลดหย่อนด้านภาษีให้กับผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินแก่กองทุน รวมทั้งการลดหย่อนภาษีให้กับผู้ อุปการะบุพการี จากกฎหมายสู่การจัดการดูแลผู้สูงอายุ มีกลไกการพัฒนานโยบายสำหรับผู้สูงอายุของ ประเทศไทย มี 3 ระดับ คือ 1) ในระดับชาติ มีคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติที่ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 ตามแนวทางการพัฒนานโยบายแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) ในระดับ กระทรวง กระทรวงที่เป็นหลักในการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุคือ กระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ และ 3) ในระดับปฏิบัติการ หน่วยงานส่วนภูมิภาค พัฒนาบริการตามกรอบและการสนับสนุนวิชาการ จากหน่วยงานส่วนกลาง ภาพรวมจากกฎหมายสู่ การจัดการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุต้องทำแบบองค์รวม และบูรณาการทั้งในมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การจัดการความเข้มแข็งชุมชนให้เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมและ พัฒนาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ