การปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๑ ของผู้ปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

งานศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการปฏิบัติการฉุกเฉินตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีโดยตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 164 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปฏิบัติกา...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ไตรเทพ โดษะนันท์, ฉัตรสุมน พฤฒิภญโญ, สุรชาติณ หนองคาย, นิทิศน์ ศิริโชติรัตน์, Traitep Dosanant, Chardsumon Prutipinyo, Surachart Na Nongkhai, Nithat Sirichotiratana
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/36889
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:งานศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการปฏิบัติการฉุกเฉินตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีโดยตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จำนวน 164 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน ตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติการโดยรวมอยู่ในระดับดี ด้านความรู้ของผู้ปฏิบัติการเกี่ยวกับ พ.ร.บ. พบว่า ผู้ปฏิบัติการมีระดับความรู้โดยรวมอยู่ในระดับดี ด้านทัศนคติพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 56.9 ด้านปัจจัยจูงใจพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับดี ด้านปัจจัยบำรุงรักษา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการฉุกเฉินตาม พ.ร.บ.โดยรวมในทางบวก (r = 0.253) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001) ทัศนคติโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการฉุกเฉินตาม พ.ร.บ. ในทางบวก (r = 0.168) อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.034) ปัจจัยจูงใจโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการฉุกเฉินตามพ.ร.บ. โดยรวมในทางบวก (r = 0.348) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) มีค่าความแกร่งที่ร้อยละ 23.6 (R² = 0.236) มีตัวแปรที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ตาม พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ได้แก่ ความรู้ ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยบำรุงรักษา งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้สำนักงานพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดปทุมธานี ควรมีการส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดปทุมธานีมีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการแพทย์ ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 มากขึ้นรวมทั้งการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีให้กับผู้ปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง