การตัดสินใจใช้บริการรักษาพยาบาลข้ามขั้นตอนของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในโรงพยาบาลศิริราช

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจใช้บริการข้ามขั้นตอนของผู้ป่วยโรคมะเร็งและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มาใช้บริการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช ขนาดตัวอย่างจำนวน 2...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สุรางคนา สมันเลาะห์, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์, สุธี อยู่สถาพร, นพดล โสภารัตนาไพศาล, Surangkana Samanloh, Chardsumon Prutipinyo, Nithat Sirichotiratana, Suthee U-sathaporn
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/36893
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจใช้บริการข้ามขั้นตอนของผู้ป่วยโรคมะเร็งและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการรับรู้สิทธิการรักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มาใช้บริการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช ขนาดตัวอย่างจำนวน 213 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้สิทธิตามขั้นตอน จำนวน 142 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้สิทธิข้ามขั้นตอน จำนวน 71 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ผลการศึกษา พบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยกลุ่มที่ใช้สิทธิตามขั้นตอนมีการรับรู้ขั้นตอนการใช้สิทธิ การรักษาอยู่ในระดับดี แต่การใช้สิทธิในภาวะฉุกเฉินและกรณีป่วยเป็นโรคเฉพาะในระดับปานกลาง แต่กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้สิทธิข้ามขั้นตอน มีการรับรู้ขั้นตอนการใช้สิทธิ การรักษาอยู่ในระดับดี แต่การใช้สิทธิในภาวะฉุกเฉินและกรณีป่วยเป็นโรคเฉพาะในระดับต่ำ การยอมรับและเชื่อถือต่อแพทย์และโรงพยาบาลศิริราช ร้อยละ 91.2 การตัดสินใจใช้บริการข้ามขั้นตอนมีปัจจัยหลายด้าน การรับรู้สิทธิขั้นพื้นฐานทางสุขภาพ การรับรู้บริการทางสุขภาพที่สามารถใช้ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการรับรู้สถานพยาบาลที่สิทธิเข้ารับบริการรักษาพยาบาลในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจในการใช้บริการข้ามขั้นตอนการรักษาตามสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้สถานภาพสมรส รายได้ ค่าใช้จ่าย ปัจจัยทางสาธารณูปโภคและการเจ็บป่วยครั้งล่าสุด ก็มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจในการใช้บริการข้ามขั้นตอนการรักษาตามสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัย จึงควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลของโครงการหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นในทุกด้าน เพื่อลดปัญหาการตัดสินใจในการใช้บริการข้ามขั้นตอนของผู้ป่วยโรคมะเร็ง