การรับรู้คุณภาพการให้บริการ : การอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายและสะสมอาหารตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ คุณภาพการให้บริการ ในการอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายและสะสมอาหารในเขตเทศบาลเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี และศึกษาเปรียบเทียบประสบการณ์การมารับบริการของผู้ประกอบการ ขนาดกิจการ การขอ อนุญาต ลักษณะกิจการ และระยะเวลาการขออน...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วรัฐกานต์ อัศวพรวิพุธ, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์, สุธี อยู่สถาพร, Waratthakarn Aussawapronwiput, Chardsumon Prutipinyo, Nithat Sirichotiratana, Sutee U-Sathaporn
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/36905
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ คุณภาพการให้บริการ ในการอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายและสะสมอาหารในเขตเทศบาลเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี และศึกษาเปรียบเทียบประสบการณ์การมารับบริการของผู้ประกอบการ ขนาดกิจการ การขอ อนุญาต ลักษณะกิจการ และระยะเวลาการขออนุญาต กับ การรับรู้คุณภาพการให้บริการในการอนุญาต ประกอบกิจการจำหน่ายและสะสมอาหารในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เก็บข้อมูลโดยการเลือกทุก รายที่เข้ามาติอต่อดำเนินการขออนุญาตประกอบกิจการ ทั้งต่ออายุและขอใหม่ จานวน 100 รายที่เต็มใจตอบ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และการทดสอบ ด้วยสถิติ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60 มีอายุระหว่าง 46-55 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34 การศึกษาระดับประถมศึกษา มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 36 มีรายได้อยู่ ระหว่าง 1- 50,000 บาทมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91 และมีประสบการณ์ในการเข้ารับบริการส่วนใหญ่อยู่ที่ 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 36 ส่วนใหญ่ประกอบกิจการขนาดเล็ก (พื้นที่ < 200ตร.ม.) คิดเป็นร้อยละ 70 ส่วนใหญ่ ขออนุญาตเป็นหนังสือรับรองการแจ้ง คิดเป็นร้อยละ 70 ประกอบกิจการจำหน่ายอาหารมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 86 ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการขออนุญาต 1-5 วัน คิดเป็นร้อยละ 73 ความคิดเห็นของผู้ประกอบการใน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ทั้ง 3 ด้านคือ ด้านความสะดวกรวดเร็ว ด้านความสุภาพของผู้ให้บริการ ด้าน ขั้นตอนการให้บริการ อยู่ในระดับ ดี ( ̅ = 4.03, 4.20, 3.97 S.D. = 0.551, 0.505, 0.508) การรับรู้คุณภาพ การบริการในการอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายและสะสมอาหารในภาพรวมอยู่ในระดับสูงกว่าที่คาดหวัง ( ̅ = 3.47) จากการศึกษาเปรียบเทียบ พบว่า ประสบการณ์การมารับบริการของผู้ประกอบการ และลักษณะ กิจการ ที่แตกต่างกัน ทำให้มีการรับรู้คุณภาพการให้บริการในการอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายและสะสม อาหารแตกต่างกัน (p < 0.05) แต่ขนาดกิจการ การขออนุญาต และระยะเวลาในการขออนุญาตของ ผู้ประกอบการที่แตกต่างกัน ไม่ทำให้การรับรู้คุณภาพการให้บริการในการอนุญาตประกอบกิจการจำหน่าย และสะสมอาหารแตกต่างกัน