พฤติกรรมการดื่มและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจในกรุงเทพมหานคร

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการดื่มสุราและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัย อันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจ โดยมีวิธีการศึกษาเป็นการสำรวจเชิงปริมาณ ในข้าราชการ ตำรวจนครบาล ทั้งชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตร โดยทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอนและตามสัดส่วนของขนาด ประชากรในแต่ละสถานีแล...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ศรินญา เพ็งสุก, วีณา ศิริสุข, Sarinya Phengsuk, Veena Sirisook
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/36924
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการดื่มสุราและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัย อันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจ โดยมีวิธีการศึกษาเป็นการสำรวจเชิงปริมาณ ในข้าราชการ ตำรวจนครบาล ทั้งชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตร โดยทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอนและตามสัดส่วนของขนาด ประชากรในแต่ละสถานีและชั้นข้าราชการ สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ใช้การตอบแบบสอบถามโดยให้ ตัวอย่างเป็นผู้เขียนตอบเอง ตัวอย่างตำรวจจำนวน 417 นาย การวิจัยครั้งนี้พบว่ากลุ่มข้าราชการตำรวจตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งปัจจุบันมีพฤติกรรมการดื่มสุรา อยู่เป็นประจำ และประมาณหนึ่งในสามดื่มสุรามาตั้งแต่อายุยังน้อย สามเหตุผลหลักที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ดื่ม สุราเป็นครั้งแรก คือ ดื่มเพื่อการเข้าสังคม/การสังสรรค์, อยากทดลองดื่ม และตามอย่างเพื่อน/เพื่อนชวนดื่ม และเหตุผลที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ดื่มสุราในปัจจุบันพบว่าเกือบร้อยละ 90 ดื่มเพื่อการเข้าสังคม/การสังสรรค์ สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่ เบียร์ สุราสียี่ห้อต่างประเทศและสุราสียี่ห้อไทย ตามลำดับ ในส่วนของสถานที่ที่กลุ่มตัวอย่างนิยมไปดื่มสุราส่วนใหญ่ดื่มที่ร้านอาหาร/ภัตตาคาร (ร้อยละ 60.4) พบเพียงร้อยละ 5.7 เท่านั้นที่ดื่มสุราในสถานที่ทำงาน โดยส่วนมากกลุ่มตำรวจตัวอย่างจะดื่มสุรากันใน ช่วงเวลาเย็นของวันหลังเสร็จสิ้นจากภารกิจต่างๆ เกินครึ่งของกลุ่มตำรวจตัวอย่างจะชอบร่วมวงดื่มสุรากับ เพื่อนที่ทำงานเดียวกัน และจากการประเมินภาวะการติดแอลกอฮอล์ตามแบบประเมินของกรมสุขภาพจิต พบว่ากลุ่มตำรวจตัวอย่างประมาณร้อยละ 38 เป็นผู้ที่มีระดับการดื่มอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูง/เสพติด แอลกอฮอล์แล้ว และประมาณร้อยละ 24 จัดอยู่ในกลุ่มที่ระดับการดื่มก่อให้เกิดอันตรายได้ และเมื่อพิจารณา ถึงแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราพบว่ากลุ่มตำรวจตัวอย่างประมาณครึ่งมี แนวโน้มในการละเมิดฯ ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 53.7) และจากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้ม การละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุรากับระดับการดื่มสุรา พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ จากข้อค้นพบของการศึกษานี้ชักนำให้เห็นว่าพฤติกรรมการดื่มสุราของตำรวจไทยนับเป็นข้อจำกัด หนึ่งของการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์