พฤติกรรมการดื่มและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจในกรุงเทพมหานคร
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการดื่มสุราและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัย อันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจ โดยมีวิธีการศึกษาเป็นการสำรวจเชิงปริมาณ ในข้าราชการ ตำรวจนครบาล ทั้งชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตร โดยทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอนและตามสัดส่วนของขนาด ประชากรในแต่ละสถานีแล...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2018
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/36924 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
id |
th-mahidol.36924 |
---|---|
record_format |
dspace |
institution |
Mahidol University |
building |
Mahidol University Library |
continent |
Asia |
country |
Thailand Thailand |
content_provider |
Mahidol University Library |
collection |
Mahidol University Institutional Repository |
language |
Thai |
topic |
การละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา พฤติกรรมการดื่มสุรา ข้าราชการตำรวจ Open Access article วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข Public Health & Health Laws Journal |
spellingShingle |
การละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา พฤติกรรมการดื่มสุรา ข้าราชการตำรวจ Open Access article วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข Public Health & Health Laws Journal ศรินญา เพ็งสุก วีณา ศิริสุข Sarinya Phengsuk Veena Sirisook พฤติกรรมการดื่มและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจในกรุงเทพมหานคร |
description |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการดื่มสุราและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัย
อันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจ โดยมีวิธีการศึกษาเป็นการสำรวจเชิงปริมาณ ในข้าราชการ
ตำรวจนครบาล ทั้งชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตร โดยทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอนและตามสัดส่วนของขนาด
ประชากรในแต่ละสถานีและชั้นข้าราชการ สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ใช้การตอบแบบสอบถามโดยให้
ตัวอย่างเป็นผู้เขียนตอบเอง ตัวอย่างตำรวจจำนวน 417 นาย
การวิจัยครั้งนี้พบว่ากลุ่มข้าราชการตำรวจตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งปัจจุบันมีพฤติกรรมการดื่มสุรา
อยู่เป็นประจำ และประมาณหนึ่งในสามดื่มสุรามาตั้งแต่อายุยังน้อย สามเหตุผลหลักที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ดื่ม
สุราเป็นครั้งแรก คือ ดื่มเพื่อการเข้าสังคม/การสังสรรค์, อยากทดลองดื่ม และตามอย่างเพื่อน/เพื่อนชวนดื่ม
และเหตุผลที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ดื่มสุราในปัจจุบันพบว่าเกือบร้อยละ 90 ดื่มเพื่อการเข้าสังคม/การสังสรรค์
สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่ เบียร์ สุราสียี่ห้อต่างประเทศและสุราสียี่ห้อไทย
ตามลำดับ ในส่วนของสถานที่ที่กลุ่มตัวอย่างนิยมไปดื่มสุราส่วนใหญ่ดื่มที่ร้านอาหาร/ภัตตาคาร (ร้อยละ 60.4)
พบเพียงร้อยละ 5.7 เท่านั้นที่ดื่มสุราในสถานที่ทำงาน โดยส่วนมากกลุ่มตำรวจตัวอย่างจะดื่มสุรากันใน
ช่วงเวลาเย็นของวันหลังเสร็จสิ้นจากภารกิจต่างๆ เกินครึ่งของกลุ่มตำรวจตัวอย่างจะชอบร่วมวงดื่มสุรากับ
เพื่อนที่ทำงานเดียวกัน และจากการประเมินภาวะการติดแอลกอฮอล์ตามแบบประเมินของกรมสุขภาพจิต
พบว่ากลุ่มตำรวจตัวอย่างประมาณร้อยละ 38 เป็นผู้ที่มีระดับการดื่มอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูง/เสพติด
แอลกอฮอล์แล้ว และประมาณร้อยละ 24 จัดอยู่ในกลุ่มที่ระดับการดื่มก่อให้เกิดอันตรายได้ และเมื่อพิจารณา
ถึงแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราพบว่ากลุ่มตำรวจตัวอย่างประมาณครึ่งมี
แนวโน้มในการละเมิดฯ ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 53.7) และจากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้ม
การละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุรากับระดับการดื่มสุรา พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ
จากข้อค้นพบของการศึกษานี้ชักนำให้เห็นว่าพฤติกรรมการดื่มสุราของตำรวจไทยนับเป็นข้อจำกัด
หนึ่งของการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ |
author2 |
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ |
author_facet |
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ศรินญา เพ็งสุก วีณา ศิริสุข Sarinya Phengsuk Veena Sirisook |
format |
Article |
author |
ศรินญา เพ็งสุก วีณา ศิริสุข Sarinya Phengsuk Veena Sirisook |
author_sort |
ศรินญา เพ็งสุก |
title |
พฤติกรรมการดื่มและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจในกรุงเทพมหานคร |
title_short |
พฤติกรรมการดื่มและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจในกรุงเทพมหานคร |
title_full |
พฤติกรรมการดื่มและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจในกรุงเทพมหานคร |
title_fullStr |
พฤติกรรมการดื่มและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจในกรุงเทพมหานคร |
title_full_unstemmed |
พฤติกรรมการดื่มและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจในกรุงเทพมหานคร |
title_sort |
พฤติกรรมการดื่มและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจในกรุงเทพมหานคร |
publishDate |
2018 |
url |
https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/36924 |
_version_ |
1763490418620628992 |
spelling |
th-mahidol.369242023-03-30T16:31:55Z พฤติกรรมการดื่มและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจในกรุงเทพมหานคร Drinking Behavior and Tendency of Disobedience to the Laws/Disciplines Concerning Alcohol Consumption among Policemen in Bangkok ศรินญา เพ็งสุก วีณา ศิริสุข Sarinya Phengsuk Veena Sirisook มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ การละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา พฤติกรรมการดื่มสุรา ข้าราชการตำรวจ Open Access article วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข Public Health & Health Laws Journal การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการดื่มสุราและแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัย อันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของข้าราชการตำรวจ โดยมีวิธีการศึกษาเป็นการสำรวจเชิงปริมาณ ในข้าราชการ ตำรวจนครบาล ทั้งชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตร โดยทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอนและตามสัดส่วนของขนาด ประชากรในแต่ละสถานีและชั้นข้าราชการ สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ใช้การตอบแบบสอบถามโดยให้ ตัวอย่างเป็นผู้เขียนตอบเอง ตัวอย่างตำรวจจำนวน 417 นาย การวิจัยครั้งนี้พบว่ากลุ่มข้าราชการตำรวจตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งปัจจุบันมีพฤติกรรมการดื่มสุรา อยู่เป็นประจำ และประมาณหนึ่งในสามดื่มสุรามาตั้งแต่อายุยังน้อย สามเหตุผลหลักที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ดื่ม สุราเป็นครั้งแรก คือ ดื่มเพื่อการเข้าสังคม/การสังสรรค์, อยากทดลองดื่ม และตามอย่างเพื่อน/เพื่อนชวนดื่ม และเหตุผลที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ดื่มสุราในปัจจุบันพบว่าเกือบร้อยละ 90 ดื่มเพื่อการเข้าสังคม/การสังสรรค์ สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่ เบียร์ สุราสียี่ห้อต่างประเทศและสุราสียี่ห้อไทย ตามลำดับ ในส่วนของสถานที่ที่กลุ่มตัวอย่างนิยมไปดื่มสุราส่วนใหญ่ดื่มที่ร้านอาหาร/ภัตตาคาร (ร้อยละ 60.4) พบเพียงร้อยละ 5.7 เท่านั้นที่ดื่มสุราในสถานที่ทำงาน โดยส่วนมากกลุ่มตำรวจตัวอย่างจะดื่มสุรากันใน ช่วงเวลาเย็นของวันหลังเสร็จสิ้นจากภารกิจต่างๆ เกินครึ่งของกลุ่มตำรวจตัวอย่างจะชอบร่วมวงดื่มสุรากับ เพื่อนที่ทำงานเดียวกัน และจากการประเมินภาวะการติดแอลกอฮอล์ตามแบบประเมินของกรมสุขภาพจิต พบว่ากลุ่มตำรวจตัวอย่างประมาณร้อยละ 38 เป็นผู้ที่มีระดับการดื่มอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูง/เสพติด แอลกอฮอล์แล้ว และประมาณร้อยละ 24 จัดอยู่ในกลุ่มที่ระดับการดื่มก่อให้เกิดอันตรายได้ และเมื่อพิจารณา ถึงแนวโน้มการละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราพบว่ากลุ่มตำรวจตัวอย่างประมาณครึ่งมี แนวโน้มในการละเมิดฯ ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 53.7) และจากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้ม การละเมิดกฎหมาย/วินัยอันเกี่ยวข้องกับการดื่มสุรากับระดับการดื่มสุรา พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ จากข้อค้นพบของการศึกษานี้ชักนำให้เห็นว่าพฤติกรรมการดื่มสุราของตำรวจไทยนับเป็นข้อจำกัด หนึ่งของการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ This research aims to study drinking behaviors and tendency of disobedience to the laws/disciplines concerning alcohol consumption among metropolitan policemen. The method was a survey quantitative research. The population was the police officers working in Bangkok metropolitan, both commissioned and non-commissioned officers. A multistage sampling technique, together with proportion to the population size of each police station and each commissioned rank, was used for obtaining the study sample. For data collection, the data was collected by using a self-administrated questionnaire. Finally for data analysis, there were 417 respondents completing the questionnaires. This study found that about 50% of the respondents regularly consumed alcohol. Approximately one-third of them had been drinking alcohol since they were young. The three most reasons for the initiating were to socializing, just trying and imitating their friends. In addition for presently drinking, 90% of them claimed that they had to drink because of socializing. Three most popular alcohol beverages were beers, foreign brand spirits and Thai brand alcohol respectively. The most popular place for drinking was a restaurant (60.4%), and only 5.7% of them drinking alcohol in their workplaces. More than half of the respondents would like to join drinking with colleagues in the evening after work. Regarding the alcohol consumption assessment and developing by the Department of Mental Health, it was found that an estimated 38% of the respondents were at high risk of becoming alcoholic, and about 24% was classified as in the being in the group that drinking could cause them harm. When considering the tendency of disobedience to the laws/disciplines concerning alcohol consumption, it was found that about half of the respondents were in moderate-level group (53.7%), and there was a significant association between the tendency of disobedience to the laws/disciplines and drinking levels. The findings suggest that drinking behavior among Thai policemen seem to be a major constrain of law enforcement as related to alcohol consumption control. Keywords: disobedience to the laws/disciplines concerning alcohol consumption, drinking behaviors, policemen 2018-11-30T09:30:02Z 2018-11-30T09:30:02Z 2561-11-30 2558 Article วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. ปีที่ 1, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2558), 91-104 2408-249X https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/36924 tha มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล application/pdf |