ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการเข้าสู่ความเป็นสากลของบุคลากรในคณะแพทยศาสตร์แห่งหนึ่งในประเทศไทย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการ เข้าสู่ความเป็นสากลของบุคลากรในคณะแพทยศาสตร์แห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการเข้าสู่ความเป็นสากลของบุคลากรในคณะแพทยศาสตร์ เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและ การปฏิบัติในการพัฒนาสู่ความเป็นสา...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2019
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/43890 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการ
เข้าสู่ความเป็นสากลของบุคลากรในคณะแพทยศาสตร์แห่งหนึ่งในประเทศไทย
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการเข้าสู่ความเป็นสากลของบุคลากรในคณะแพทยศาสตร์ เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและ
การปฏิบัติในการพัฒนาสู่ความเป็นสากลของบุคลากร และปัจจัยส่วนบุคคล
ที่อาจมีผลต่อความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของบุคลากร โดยใช้การวิเคราะห์
เชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยกำหนดจำนวน
ประชากรเป็นบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน
16,253 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรการคำนวณของ Taro Yamane
ได้ผลลัพธ์ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่คำนวณได้ เท่ากับ 391 คน และวิเคราะห์ข้อมูล
ด้วยสถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test)
ผลการวิจัยพบว่า (1) ความรู้ในการเข้าสู่ความเป็นสากลของบุคลากร มีค่าเฉลี่ย
โดยรวมด้านความเป็นสากลอยู่ในระดับดี ด้านความเป็นสากลของมหาวิทยาลัยมหิดลอยู่ในระดับดี ความเป็นสากลของคณะแพทยศาสตร์
อยู่ในระดับปานกลาง (2) ทัศนคติในการเข้าสู่ความเป็นสากลของบุคลากร
มีค่าเฉลี่ยโดยรวมทางทัศนคติต่อด้านความเป็นสากลและทัศนคติต่อคณะฯ ด้าน
ความเป็นสากลในระดับมากที่สุด และทัศนคติในการเข้าสู่ความเป็นสากลของ
หน่วยงานอยู่ในระดับปานกลาง (3) การปฏิบัติในการเข้าสู่ความเป็นสากลของ
บุคลากรมีค่าเฉลี่ยโดยรวมในการปฏิบัติของคณะฯ ด้านความเป็นสากล
ในระดับมาก และการปฏิบัติของบุคลากรและการปฏิบัติของหน่วยงาน
อยู่ในระดับน้อย (4) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส
ระยะเวลาการปฏิบัติงานมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการเข้าสู่ความเป็น
สากลไม่แตกต่างกัน (5) ระดับการศึกษา มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติใน
การเข้าสู่ความเป็นสากลแตกต่างกัน และสายอาชีพ (แพทย์และบุคลากรสาย
สนับสนุน) มีทัศนคติ และการปฏิบัติในการเข้าสู่ความเป็นสากลแตกต่างกัน
โดยสรุปบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้ มีความรู้ระดับปานกลาง
มีทัศนคติที่ดีระดับมากที่สุดและมีการปฏิบัติระดับน้อย ดังนั้น การจะพัฒนาสู่
ความเป็นสากล จำเป็นต้องสื่อสารให้ความรู้ด้านความเป็นสากลทุกระดับและ
สนับสนุนให้มีการปฏิบัติจริงที่มีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น ในระดับหน่วยงาน
เพื่อให้คณะฯ และมหาวิทยาลัยก้าวสู่ความเป็นสากลอย่างแท้จริง |
---|