การทบทวนวรรณกรรมการจัดการระบบประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวนอกระบบทะเบียนในภูมิภาคยุโรป : บทเรียนที่ระบบสาธารณสุขไทยพึงเรียนรู้
วัตถุประสงค์ของบทความ คือเพื่อถอดบทเรียนการจัดการระบบ ประกันสุขภาพในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและเพื่อนำข้อค้นพบที่ได้มาปรับ ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในบริบทของประเทศไทย วิธีการศึกษาใช้การทบทวน วรรณกรรมแบบเจาะจง โดยมุ่งเน้นที่ “คนต่างด้าวนอกระบบทะเบียน (undocumented migrants)” ซึ่งหมายถึงคนต่างด้าวที่...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2019
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/43892 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | วัตถุประสงค์ของบทความ คือเพื่อถอดบทเรียนการจัดการระบบ
ประกันสุขภาพในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและเพื่อนำข้อค้นพบที่ได้มาปรับ
ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในบริบทของประเทศไทย วิธีการศึกษาใช้การทบทวน
วรรณกรรมแบบเจาะจง โดยมุ่งเน้นที่ “คนต่างด้าวนอกระบบทะเบียน
(undocumented migrants)” ซึ่งหมายถึงคนต่างด้าวที่เข้าสู่ประเทศปลายทาง
โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือบุคคลที่แม้เข้าประเทศปลายทางโดยถูกต้อง แต่อาศัย
อยู่จนเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายประเทศปลายทางกำหนด ผลการศึกษาพบ
ว่าขอบเขตการให้บริการสุขภาพสำหรับคนต่างด้าวนอกระบบทะเบียนในสหภาพยุโรปแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) ให้บริการเฉพาะอุบัติเหตุฉุกเฉิน,
(2) ให้บริการครอบคลุมสิทธิประโยชน์พื้นฐานบางส่วนและเฉพาะบางกลุ่ม
ของคนต่างด้าวนอกระบบทะเบียน และ (3) ครอบคลุมบริการสุขภาพเกือบ
ทั้งหมด รูปแบบการให้บริการประกันสุขภาพที่มีความหลากหลายแตกต่างกัน
ไปในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ขึ้นกับบริบททางการเมือง โครงสร้างระบบสาธารณสุข
และทิศทางนโยบายคนต่างด้าวในภาพรวมของประเทศนั้น ๆ เมื่อเทียบเคียง
กับประเทศไทย พบว่า นโยบายประกันสุขภาพของรัฐไทยค่อนข้างเปิดกว้าง
ในการประกันสุขภาพคนต่างด้าวนอกระบบทะเบียนโดยให้บริการครอบคลุม
สิทธิประโยชน์เกือบทั้งหมด ทั้งนี้มีประเด็นท้าทายที่พึงเรียนรู้จากยุโรป คือ
แม้ประเทศที่มีนโยบายเปิดกว้างในเรื่องการประกันสุขภาพ คนต่างด้าว
นอกระบบทะเบียนส่วนหนึ่งก็ยังไม่ได้รับการประกันสุขภาพ เนื่องจากความ
หวาดกลัว ที่จะเปิดเผยตัวตนต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนั้น การส่งเสริมให้มีบุคลากร
สุขภาพทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสานระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐกับ
คนต่างด้าว การมีทิศทางของนโยบายที่ชัดเจนจากภาครัฐที่บ่งชี้ให้การประกัน
สุขภาพเป็นมาตรการบังคับ เพื่อลดการตีความของการดำเนินนโยบายในแต่ละ
พื้นที่ การลดเงื่อนไขของการประกันสุขภาพ และการร่วมมือกับภาคเอกชน
ในการดำเนินนโยบาย น่าจะเป็นมาตรการสำคัญในการทำให้การประกันสุขภาพ
สำหรับคนต่างด้าวในประเทศไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป |
---|