ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารและการสนับสนุนทางสังคมในองค์การกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษา ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร การสนับสนุนทาง สังคมและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม การติดต่อสื่อสารกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งปร...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา, คำรณ โชธนะโชติ
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/43955
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร การสนับสนุนทาง สังคมและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม การติดต่อสื่อสารกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 362 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน (Taro Yamane) กำหนด ค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.05 และ คำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสัดส่วนของส่วนงาน ด้วยวิธีการส่มุ แบบแบ่งระดับชั้น (Stratified Sampling) แล้วทำการเลือกหน่วยตัวอย่างจากประชากรแต่ละ กลุ่มมาให้ครบทุกกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้ปรับ โครงสร้างและมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) ทดสอบค่า สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้ปฏิบัติงานมีพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.50 คะแนน) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การสื่อสารแบบแนวนอน การสื่อสารแบบบนลงล่าง และการสื่อสารแบบข้ามสายงานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.75, 3.49 และ 3.45 คะแนน ตามลำดับ) ส่วนการสื่อสารแบบล่าง ขึ้นบนอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.29 คะแนน) 2. ผู้ปฏิบัติงานมีการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.40 คะแนน) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การได้รับการสนับสนุน จากเพื่อนร่วมงาน และการได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาอยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ย 3.49 และ 3.31 คะแนน ตามลำดับ) 3. ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.47 คะแนน) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสัมพันธ์ใน ส่วนงาน ด้านความพึงพอใจในงาน ด้านความรู้สึกมั่นคงในการปฏิบัติงาน และ ด้านความก้าวหน้าในงานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.54, 3.52, 3.46 และ 3.34 คะแนน ตามลำดับ) 4. ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน และสถานภาพ ของบุคลากรแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. พฤติกรรมการติดต่อสื่อสารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับขวัญกำลัง ใจในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์ กันปานกลาง (r=0.456) 6. การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวก กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมี ความสัมพันธ์กันปานกลาง (r=0.488)