ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการล้างมือต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะในสามเณร

วัตถุประสงค์:เพื่อประเมินผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการล้างมือต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะในสามเณร รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาจากการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบริการวิชาการให้กับสามเณร โรงเรียนวัดไผ่ดํา จังหวัดสิงห์บุรี ประจําปี พ.ศ. 2559 ของสถาบันการศึกษาพยาบาลแห่งหนึ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ผ่องศรี ศรีมรกต, Pongsri Srimoragot, ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง, Thirawan Chuetaleng, ยุวดี ชาติไทย, Yuwadee Chadthai, พิเชต วงรอต, Phichet Wongrot, ณัฎฐณรัณ แคล่วคล่อง, Natnarun KlaewKlong, วิทวัส สืบชัยลังกา, Wittawat Suebchailangka
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/44200
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์:เพื่อประเมินผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการล้างมือต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะในสามเณร รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาจากการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบริการวิชาการให้กับสามเณร โรงเรียนวัดไผ่ดํา จังหวัดสิงห์บุรี ประจําปี พ.ศ. 2559 ของสถาบันการศึกษาพยาบาลแห่งหนึ่ง วิธีดําเนินการวิจัย:ข้อมูลของสามเณรทั้งหมดในโรงเรียนจํานวน 162 รูป ที่เข้าร่วมโครงการบริการวิชาการ ได้แก่ข้อมูลที่เก็บ 3 ระยะ คือ ก่อน-หลังทันที และระยะ 1 เดือนภายหลังร่วมโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการล้างมือ สามเณรตอบแบบประเมินประเมินความรู้ ทัศนคติต่อการล้างมือ ทักษะการล้างมือ และความพึงพอใจในการเข้าร่วมโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบซ้ำ ผลการวิจัย:ความรู้ ทัศนคติ และทักษะการล้างมือของสามเณรหลังเข้าร่วมโปรแกรมเพิ่มสูงขึ้นจากก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ .05 และความรู้ ทัศนคติ และทักษะการล้างมือของสามเณรมีความคงทนอยู่ในระยะ 1 เดือนภายหลังร่วมโปรแกรม และสามเณรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโปรแกรมในระดับมากถึงมากที่สุด สรุปและข้อเสนอแนะ:โปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการล้างมือสามารถส่งผลให้สามเณรเกิดการเรียนรู้ มีทัศนคติและทักษะการล้างมือที่ดี จึงควรส่งเสริมให้มีการนําโปรแกรมฯ ไปใช้ในกลุ่มประชากรสามเณร และควรมีการเสริมแรงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความคงทนของพฤติกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อสภาวะสุขภาพของสามเณรต่อไป