ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพเพื่อจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัด

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็กที่ ได้รับการผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 123 ราย ที่ดูแลผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัด และ ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทร...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: กตกร ประสารวรณ์, อัจฉรียา ปทุมวัน, เรณู พุกบุญมี, Katakorn Prasanwon, Autchareeya Patoomwan, Renu Pookboonmee
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/44271
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็กที่ ได้รับการผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 123 ราย ที่ดูแลผู้ป่วยเด็กหลังผ่าตัด และ ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 5 โรงพยาบาลจากทุกภาค ในประเทศไทย โดยวิธีการสุ่มเลือกโดยการจับสลาก เครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในผู้ป่วยเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติบรรยาย และหาความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ระดับของความรู้ ทัศนคติของพยาบาลในการจัดการความปวดในเด็กที่ได้รับการผ่าตัดอยู่ในระดับ ปานกลาง ระดับการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในการจัดการความปวดในเด็กที่ได้ รับการผ่าตัดอยู่ในระดับสูง และความรู้ ทัศนคติ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติการพยาบาล ของพยาบาลวิชาชีพในการจัดการความปวดในเด็กที่ได้รับการผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อุปสรรคของพยาบาลวิชาชีพในการจัดการความปวดในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัดคือ ผู้ป่วยเด็ก และผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการให้การพยาบาลในการจัดการความปวดน้อย พยาบาลมีความรู้ ทัศนคติ และทักษะไม่เพียงพอในการประเมินความปวดโดยเฉพาะการเลือกเครื่องมือประเมิน ความปวด และพยาบาลไม่สามารถแยกความแตกต่างของพฤติกรรมการแสดงออกของความปวด ในเด็กได้ ข้อเสนอแนะควรมีการจัดอบรมการเลือกใช้เครื่องมือในการประเมินความปวดให้เหมาะสม กับวัยของผู้ป่วยแต่ละรายให้กับพยาบาลวิชาชีพและ ควรมีการจัดทำแนวปฏิบัติการพยาบาลใน การประเมินและการจัดการความปวดอย่างชัดเจน