คุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งขณะได้รับการรักษา

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็ง ขณะได้รับการรักษา และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลจำแนกตามอายุของเด็กโรคมะเร็ง และระยะเวลาของการเจ็บป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลจำนวน 199 ราย ที่พาเด็กโรคมะเร็ง อายุ 1 เดือน–15 ปี ที่มาตรวจตามนัดในคลินิกโรคเลือด...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: เขมวดี เพ็งละคร, อัจฉรียา ปทุมวัน, กมล เผือกเพ็ชร, Khemwadee Phenglakorn, Autchareeya Patoomwan, Kamon Phuakpet
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/44285
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็ง ขณะได้รับการรักษา และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลจำแนกตามอายุของเด็กโรคมะเร็ง และระยะเวลาของการเจ็บป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลจำนวน 199 ราย ที่พาเด็กโรคมะเร็ง อายุ 1 เดือน–15 ปี ที่มาตรวจตามนัดในคลินิกโรคเลือด และหอผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลศิริราช เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถาม เกี่ยวกับการรักษาของเด็กโรคมะเร็ง และแบบวัดคุณภาพชีวิตผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Kruskal-Wallis H Test ผลการศึกษา พบว่า คุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งขณะได้รับการรักษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าคุณภาพชีวิตทุกด้านของผู้ดูแล อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ความผาสุกด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณ และเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งขณะได้รับการรักษา จำแนกตามอายุ ของเด็กโรคมะเร็ง และระยะเวลาของการเจ็บป่วย พบว่า คุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างมีความ แตกต่างกัน ผู้ดูแลที่ดูแลเด็กโรคมะเร็งที่มีอายุมาก มีระดับคุณภาพชีวิตดีกว่ากลุ่มที่ดูแลเด็กที่ มีอายุน้อย และผู้ดูแลที่ดูแลเด็กโรคมะเร็งที่มีระยะของการเจ็บป่วยนาน มีระดับคุณภาพชีวิตดีกว่า กลุ่มที่มีระยะเวลาของการเจ็บป่วยสั้นกว่า ดังนั้น จึงควรมีการพัฒนาแนวทางในการส่งเสริม คุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งขณะได้รับการรักษาโดยเฉพาะในระยะแรกของการรักษาและ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งขณะได้รับการรักษา