ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจขาดเลือดเป็นโรคของหลอดเลือดแดงที่มีการตีบแคบจากคราบไขมันอุดตัน ทำให้ เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก การรักษามีทั้งการใช้ยา การทำหัตถการ และการปรับเปลี่ยนแบบแผนการ ดำเนินชีวิต การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแล ตนเองของพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคหั...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: กันยารัตน์ ลาสุธรรม, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ, อรสา พันธ์ภักดี, Kanyarat Lasutham, Apinya Siripitayakunkit, Orasa Panpakdee
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/44589
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:โรคหัวใจขาดเลือดเป็นโรคของหลอดเลือดแดงที่มีการตีบแคบจากคราบไขมันอุดตัน ทำให้ เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก การรักษามีทั้งการใช้ยา การทำหัตถการ และการปรับเปลี่ยนแบบแผนการ ดำเนินชีวิต การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแล ตนเองของพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคหัวใจขาดเลือด กรอบแนวคิดการวิจัยคือ ทฤษฎีการดูแลตนเองของ โอเร็ม กลุ่มตัวอย่างเป็นพระสงฆ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือด มารับบริการที่โรงพยาบาล สงฆ์ จำนวน 75 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการ ดูแลตนเองของพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคหัวใจขาดเลือด แบบสัมภาษณ์ความตั้งใจในการปฏิบัติ พฤติกรรมสุขภาพ และแบบสัมภาษณ์ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจขาดเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ บรรยายและหาความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า พระสงฆ์มีอายุระหว่าง 37- 90 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในวัยสูงอายุ โรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด คะแนนความ ตั้งใจในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจขาดเลือด และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคหัวใจขาดเลือดอยู่ในระดับมาก แต่พบว่าพระสงฆ์บางส่วนขาดความตั้งใจ ในการเลิกสูบบุหรี่ มีกิจกรรมทางกายน้อย ไม่รู้วิธีจับชีพจรหรือวิธีการอมยาอมใต้ลิ้น ไม่พบความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยพื้นฐานของพระสงฆ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคหัวใจ ขาดเลือด ส่วนความตั้งใจในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจขาดเลือดมี ความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคหัวใจขาดเลือดอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าพยาบาลควรส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ ขาดเลือดโดยเน้นย้ำการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางด้านเมตาบอลิก การใช้ยาอมใต้ลิ้น แนะนำการมีกิจกรรม ทางกายตามสมรรถนะและไม่ขัดกับพระธรรมวินัย และจัดทำโปรแกรมเลิกสูบบุหรี่ด้วยเทคนิคสร้างเสริม แรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ ดังนั้นการช่วยให้พระสงฆ์สามารถประเมินปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด จะทำให้พระสงฆ์ปฏิบัติการดูแลตนเองและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัวใจขาดเลือดได้ดีขึ้น