ผลของการใช้ขั้นตอนปฏิบัติเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจนำโดยพยาบาลต่อระยะเวลาการใช้และความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่องทางจมูก

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลองเพื่อศึกษาผลของการใช้ขั้นตอนปฏิบัติเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจนำโดยพยาบาลต่อระยะเวลาการใช้และความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่องทางจมูก กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกเกิดก่อนกำหนดท...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ชลธิชา กุลัดนาม, เรณู พุกบุญมี, พิศสมัย อรทัย, Chonticha Kuladnarm, Renu Pookboonmee, Pisamai Orathai
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/47932
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลองเพื่อศึกษาผลของการใช้ขั้นตอนปฏิบัติเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจนำโดยพยาบาลต่อระยะเวลาการใช้และความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่องทางจมูก กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาโดยใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่องทางจมูกในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสิรินธร กลุ่มควบคุม จำนวน 29 ราย ได้รับการหย่าเครื่องช่วยหายใจตามการปฏิบัติปกติ และกลุ่มทดลอง จำนวน 30 ราย ได้รับการหย่าเครื่องช่วยหายใจตามขั้นตอนปฏิบัติเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจนำโดยพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ 2) ระยะหย่าเครื่องช่วยหายใจ และ 3) ระยะหลังหย่าเครื่องช่วยหายใจเครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย ขั้นตอนปฏิบัติเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจนำโดยพยาบาล แบบบันทึกการปฏิบัติตามขั้นตอนปฏิบัติเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจนำโดยพยาบาล และแบบบันทึกการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่องทางจมูก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย สถิติไคสแควร์ สถิติความน่าจะเป็นของฟิชเชอร์ สถิติที และสถิติแมนวิทนีย์ ยู ผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจของทารกเกิดก่อนกำหนดกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจของกลุ่มทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าขั้นตอนปฏิบัติเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจนำโดยพยาบาลสามารถลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจแต่ไม่สามารถเพิ่มความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจของทารกเกิดก่อนกำหนดที่ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่องทางจมูกได้ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวัดความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจโดยใช้อาการทางคลินิกร่วมด้วยเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดที่ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกต่อเนื่องทางจมูกให้ดียิ่งขึ้น