ผลลัพธ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองขาดเลือดหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
การศึกษาวิจัยย้อนหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์และปัจจัยเสี่ยงของการ เกิดภาวะสมองขาดเลือดหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2558 จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 2,745 ราย มีผู้ป่วยที่เกิดภาวะสมอง ขาดเลือดหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดจำนวน 48 ราย ส...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2019
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/47934 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาวิจัยย้อนหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์และปัจจัยเสี่ยงของการ
เกิดภาวะสมองขาดเลือดหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนมกราคม
พ.ศ. 2552 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2558 จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 2,745 ราย มีผู้ป่วยที่เกิดภาวะสมอง
ขาดเลือดหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดจำนวน 48 ราย สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการจับคู่ด้วยเพศและอายุ
ในอัตราส่วน 1:3 มีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้จำนวน 192 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน
ออนไลน์ และลงบันทึกในแบบประเมินผลลัพธ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองขาดเลือด
หลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติวิเคราะห์ด้วยการหาค่าสัดส่วน
ความเสี่ยง (odds ratio) ทดสอบด้วยไคสแควร์ และฟิชเชอร์ ผลการวิจัยพบว่า ภาวะสมองขาดเลือด
หลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดมีอุบัติการณ์ร้อยละ 1.75 และมีอัตราเสียชีวิตร้อยละ 20.83 อัตราการ
เสียชีวิตและจำนวนวันนอนโรงพยาบาลคิดเป็น 5.2 และ 2.1 เท่าของกลุ่มที่ไม่เกิดภาวะสมองขาด
เลือดหลังผ่าตัด ตามลำดับ ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะสมองขาดเลือดหลังผ่าตัดหัวใจ
แบบเปิด ในระยะก่อนการผ่าตัด ได้แก่ โรคร่วมก่อนผ่าตัด (โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะหัวใจ
เต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว) ประวัติการเคยผ่าตัดหัวใจมาก่อน และระดับความรุนแรง
ของโรคตามหลักการประเมินของสมาคมโรคหัวใจแห่งนิวยอร์ก ปัจจัยเสี่ยงในระยะระหว่างการ
ผ่าตัด ได้แก่ การใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม ระยะเวลาในการใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม และ
การใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงในระยะหลังการผ่าตัด ได้แก่ การเกิดใหม่ของ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว และการเกิดใหม่ของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้วร่วมกับมีความดันซิสโตลิกต่่ำกว่า 90 มม. ปรอท ผลการศึกษาครั้งนี้
สามารถนำข้อมูลผลลัพธ์และปัจจัยเสี่ยงไปเป็นข้อมูลของการวางแผนพัฒนาแนวทางการปฏิบัติ
พยาบาลในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต
และจำนวนวันนอนโรงพยาบาล |
---|