ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของผิวหนังบริเวณจมูกต่อการบาดเจ็บของผิวหนังบริเวณจมูกในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกอย่างต่อเนื่องทางจมูก
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดหลังการทดลองเพื่อศึกษาผลของการ ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของผิวหนังบริเวณจมูกต่อการบาดเจ็บของผิวหนัง บริเวณจมูกในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกอย่างต่อเนื่องทางจมูก กลุ่ม ตัวอย่างเป็นทารกเกิดก่อนกำหนดอายุ 1-...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2019
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/47950 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดหลังการทดลองเพื่อศึกษาผลของการ
ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของผิวหนังบริเวณจมูกต่อการบาดเจ็บของผิวหนัง
บริเวณจมูกในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกอย่างต่อเนื่องทางจมูก กลุ่ม
ตัวอย่างเป็นทารกเกิดก่อนกำหนดอายุ 1-28 วัน ที่ได้รับการช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกโดยใช้อุปกรณ์
นาซอล พรองส์ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด โรงพยาบาลชลบุรี คัดเลือกตัวอย่าง
แบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดได้กลุ่มควบคุม 29 รายและกลุ่มทดลอง 30 ราย กลุ่มควบคุม
ได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน
การบาดเจ็บของผิวหนังบริเวณจมูก ประกอบด้วยแนวปฏิบัติรวม 7 ด้าน ได้แก่ 1) การเลือกขนาดนาซอล
พรองส์ 2) การใส่และการยึดตรึง 3) การดูแลขณะทารกใส่นาซอล พรองส์ 4) การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน
5) การดูดสารคัดหลั่งในรูจมูก 6) การปรับตั้งเครื่องให้ความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม และ 7) การ
ดูแลเพื่อส่งเสริมความสุขสบาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลพื้นฐาน
แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของผิวหนังบริเวณจมูก แบบบันทึกการพยาบาลตามแนว
ปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของผิวหนังบริเวณจมูก และแบบประเมินการบาดเจ็บของ
ผิวหนังบริเวณจมูก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย สถิติไคสแควร์ สถิติที และสถิติแมน-วิทนีย์ ยู
ผลการศึกษาพบว่า การบาดเจ็บของผิวหนังบริเวณจมูกของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของ
ผิวหนังบริเวณจมูกสามารถลดการบาดเจ็บของผิวหนังบริเวณจมูกได้ ดังนั้นควรมีการส่งเสริมให้มีการนำ
แนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการพยาบาลทารกเกิดก่อนก ำหนดเพื่อพัฒนาคุณภาพ
การดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกอย่างต่อเนื่องทางจมูกให้ดียิ่งขึ้น |
---|