การพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมสนับสนุนการคลอดของพยาบาล

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมสนับสนุนการคลอดของพยาบาล ที่มีต่อผู้คลอด ประชากรตัวอย่างเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกห้องคลอดของโรงพยาบาลรัฐใน เขตกรุงเทพมหานคร 6 แห่งจำนวน 123 ราย พัฒนาข้อคำถามจากการทบทวนวรรณกรรม เอกสาร และตำรา ได้แบบวัดพฤติกรรรมสนับสนุนการคลอดของพยาบาลจไนวน 23 ข...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ศรีสมร ภูมนสกุล, ปุณณภาภัค สุขสงวน, จันทิมา ขนบดี
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/47961
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมสนับสนุนการคลอดของพยาบาล ที่มีต่อผู้คลอด ประชากรตัวอย่างเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกห้องคลอดของโรงพยาบาลรัฐใน เขตกรุงเทพมหานคร 6 แห่งจำนวน 123 ราย พัฒนาข้อคำถามจากการทบทวนวรรณกรรม เอกสาร และตำรา ได้แบบวัดพฤติกรรรมสนับสนุนการคลอดของพยาบาลจไนวน 23 ข้อ ผ่านการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิเหลือข้อคำถามจำนวน 22 ข้อ เก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่าง ทำแบบสอบถามพฤติกรรมสนับสนุนการคลอดด้วยตนเองวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายตรวจ สอบองค์ประกอบและค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค วิเคราะห์ความตรงและความเที่ยง เชิงโครงสร้างเพื่อยืนยันองค์ประกอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการศึกษา พบว่า จาก การสกัดองค์ประกอบทำให้ได้ข้อคำถามจำนวน 20 ข้อ ที่สะท้อน 4 องค์ประกอบ คือ การสนับสนุน การคลอดทางด้านร่างกาย การสนับสนุนการคลอดทางด้านอารมณ์การสนับสนุนการคลอดทางด้าน การเป็นตัวแทนและการสนับสนุนการคลอดด้านข้อมูลข่าวสารและคำแนะนำโดยแต่ละองค์ประกอบ และทั้งฉบับมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคที่สะท้อนความสอดคล้องภายในสำหรับแบบวัดที่ สร้างขึ้นใหม่ อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้การตรวจสอบเพื่อยืนยันองค์ประกอบและความเที่ยงเชิง โครงสร้างด้วย Second Order Confirmatory Factor Analysis พบว่า โมเดลการวัดพฤติกรรมสนับสนุน การคลอดมีความตรงเชิงโครงสร้างโดยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีค่าน้ำหนัก องค์ประกอบของพฤติกรรมสนับสนุนการคลอดทุกพฤติกรรมมีนัยสำคัญทางสถิติพฤติกรรมการ สนับสนุนการคลอดที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดคือ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับแผนการรักษาของ แพทย์และแผนการพยาบาลรองลงมาคือการเป็นตัวแทนในการสอบถามหรือหาข้อมูลในสิ่งที่ผู้คลอด มีความสงสัยเกี่ยวกับการดูแลรักษา และความเที่ยงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบอยู่ในเกณฑ์ ปานกลางถึงสูง ซึ่งแบบวัดพฤติกรรมสนับสนุนการคลอดนี้สามารถนำไปปรับใช้ประเมินการปฏิบัติ พฤติกรรมสนับสนุนการคลอดทั้งจากพยาบาลและตามการรับรู้ของสตรีในระยะคลอด ในการศึกษา ในประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง