ความเครียด และการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาความเครียด การเผชิญความเครียด และความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัดตามกรอบแนวคิดของลาซารัสและโฟล์คแมน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ศุภกาญจน์ โอภาสรัตนากร, มุกดา เดชประพนธ์, บัวหลวง สำแดงฤทธิ์, Suppakarn Opasrattanakorn, Mukda Detprapon, Bualuang Sumdaengrit
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/47973
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาความเครียด การเผชิญความเครียด และความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก ที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัดตามกรอบแนวคิดของลาซารัสและโฟล์คแมน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกที่ได้รับการรักษาด้วย การฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัดอย่างน้อย 3 เดือนแต่ไม่เกิน 1 ปีณ แผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอก กลุ่มงานรังสีรักษา โรงพยาบาลระดับตติยภูมิจำนวน 51 ราย ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่าง เดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับ ความเครียดและการเผชิญความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย และสถิติสหสัมพันธ์ เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเครียดของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับสูง กลุ่มตัวอย่างใช้วิธี การเผชิญความเครียดด้านการเผชิญหน้ากับปัญหาด้านการจัดการกับอารมณ์และด้านการบรรเทา ความเครียดร่วมกันโดยมีสัดส่วนของการเผชิญหน้ากับปัญหามากที่สุด เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ ของตัวแปรพบว่า ระดับความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเผชิญความเครียดด้านการ จัดการกับอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ไม่มีความสัมพันธ์กับการเผชิญความเครียดโดย รวม การเผชิญความเครียดด้านการเผชิญหน้ากับปัญหาและด้านการบรรเทาความเครียด ดังนั้น พยาบาลควรประเมินความเครียดผู้ป่วยเป็นระยะๆเมื่อผู้ป่วยมาติดตามผลการรักษาเพื่อที่จะได้ ช่วยเหลือให้คำแนะนำที่เหมาะสมตรงกับความต้องการของผู้ป่วย