พฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้สูงอายุ ที่เป็นเบาหวานชนิดที่2 โดยใช้กรอบแนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็มกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการตรวจรักษาที่ศูนย์เบาหวาน โรงพยาบาลตากสิน เลือกแบบ เจาะจง จำนวน 78 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: หนึ่งฤทัย จันทร์อินทร์, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ, พรทิพย์ มาลาธรรม, Neongreothai Jun-In, Apinya Siripitayakunkit, Porntip Malathum
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/47975
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้สูงอายุ ที่เป็นเบาหวานชนิดที่2 โดยใช้กรอบแนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็มกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการตรวจรักษาที่ศูนย์เบาหวาน โรงพยาบาลตากสิน เลือกแบบ เจาะจง จำนวน 78 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 78 รายเป็นเพศชายและเพศหญิงจำนวนเท่ากัน อายุเฉลี่ย 68.64 ปีกลุ่มตัวอย่าง มีพฤติกรรมการดูแลเท้าที่แตกต่างจากเดิมหลังรู้ว่าเป็นเบาหวาน คือให้ความสำคัญกับการดูแล เท้ามากขึ้น มีการตรวจเท้าด้วยตนเองเพื่อค้นหาความผิดปกติของเท้าเนื่องจากความกลัวการถูก ตัดนิ้ว/ตัดขา มีการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าโดยการทาครีมทาผิวที่เท้า ตัดเล็บแนวตรง ไม่งัดแงะซอกเล็บ แต่มีบางรายที่มีการแช่เท้าในน้ำอุ่น โดยไม่ทราบถึงผลเสีย นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีปัญหาตามัว มองไม่ชัด และมีภาวะอ้วนลงพุงทำให้ก้มลงดูแลเท้าไม่สะดวก แต่มี ความคิดริเริ่มในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันเพื่อช่วยในการมองเห็นให้ชัดขึ้น หรือขอ ให้ญาติเป็นผู้ตรวจดูเท้าให้จากข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่าง กระทำการดูแลตนเอง อย่างมีเป้าหมาย มีการไตร่ตรอง และมีทักษะในการปรับการปฏิบัติการดูแลตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งสอดแทรกการดูแลตนเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในแบบแผนการดำเนินชีวิต ผลการวิจัย ครั้งนี้ทำให้เข้าใจพฤติกรรมและปัญหาในการดูแลเท้าของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และ สามารถนำไปวางแผนการดูแลให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและแบบแผนการดำเนินชีวิตตามบริบท ทางสังคมของผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดพฤติกรรมการดูแลเท้าที่ดียิ่งขึ้น