ผลของการใข้โปรแกรมการจัดการตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบาก และความทนทานในการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการจัดการตนเองต่อการ รับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบาก และความทนทานในการออกกำลังกายใน ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยใช้กรอบแนวคิดการสนับสนุนการจัดการตนเองของ วากเนอร์และคณะ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังเข้ารั...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, ละเอียด จารุสมบัติ, พิทักษ์ ไชยกูล, เวทิส ประทุมศรี, Doungrut Wattanakitkrileart, Laaid Jarusombat, Phitak Chaiyakul, Vetis Pratumsri
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/47982
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการจัดการตนเองต่อการ รับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบาก และความทนทานในการออกกำลังกายใน ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยใช้กรอบแนวคิดการสนับสนุนการจัดการตนเองของ วากเนอร์และคณะ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับทุติย ภูมิแห่งหนึ่งด้วยอาการหายใจลำบาก จำนวน 70 รายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 35 รายและกลุ่มทดลอง 35 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง 8 สัปดาห์ประกอบด้วย การให้ความรู้และฝึกทักษะพื้นฐานในการจัดการตนเอง และการสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้ปฏิบัติกิจกรรมการ จัดการตนเองโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางร่วมกับการสนับสนุนให้ครอบครัวมีส่วนร่วมและติดตามเยี่ยม ประเมินผลในสัปดาห์ที่ 4 และ 8 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการ รับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบาก และประเมินความทนทานในการออกกำลัง กายโดยการทดสอบระยะทางที่เดินได้ใน 6 นาทีวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบวัดซ้ำ 1 ปัจจัย ร่วมกับการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 99.30 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 68.64 ปี (SD = 8.99) กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีอายุเฉลี่ย ไม่แตกต่างกันภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจ ลำบากแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและกลุ่มทดลองมีความทนทานในการ ออกกำลังกายไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า การจัดการตนเองในผู้ป่วย ปอดอุดกั้นเรื้อรังจะประสบผลสำเร็จได้ผู้ป่วยจะต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนจัดกิจกรรม โดยครอบครัว เป็นผู้สนับสนุน พยาบาลเป็นผู้ส่งเสริมสมรรถนะในการปฏิบัติกิจกรรม และเป็นหุ้นส่วนในการจัดการ ตนเองของผู้ป่วย