ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมโรคในผู้ป่วยโรคหืด

วัตถุประสงค์: พื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะซึมเศร้า ความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด การสูบบุหรี่และโรคร่วมต่อการควบคุมโรคในผู้ป่วยโรคหืด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทํานายวิธีดําเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหืดอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ได้รับการรักษาด้วยยาคอร์ติ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สายสุนี อภิบาลวนา, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย, Saisunee Arpibanwana, Doungrut Wattanakitkrileart, Kanaungnit Pongthavornkamol, Wanchai Dejsomritrutai
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48023
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: พื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะซึมเศร้า ความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด การสูบบุหรี่และโรคร่วมต่อการควบคุมโรคในผู้ป่วยโรคหืด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทํานายวิธีดําเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหืดอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ได้รับการรักษาด้วยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดอย่างน้อย 3 เดือนที่มาตรวจรักษาตามนัดในคลินิกโรคหืด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครคัดเลือกแบบสะดวกตามเกณฑ์กําหนด จํานวน 130 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินระดับการควบคุมโรคหืดตามเกณฑ์ GINA แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า (CESD) แบบสอบถามความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด (MARS) และแบบประเมินโรคร่วม Charlson Comorbidity Index วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและสถิติการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติคแบบเลือกเข้าทั้งหมด ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง 2 ใน 3 เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 66.6) อายุเฉลี่ย 63 ปี (SD = 12.7) ควบคุมโรคไม่ได้ร้อยละ 54.6 มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 13.8 มีความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดร้อยละ 54.6 มีประวัติสูบบุหรี่ร้อยละ 25.4 และมีโรคร่วมร้อยละ 93.8 โดยเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 47.7) มีความรุนแรงโรคร่วมน้อย ภาวะซึมเศร้า ความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด การสูบบุหรี่ และโรคร่วม สามารถร่วมกันทํานายการควบคุมโรคในผู้ป่วยโรคหืดได้ร้อยละ 21.4 (Nagelkerke R2 = .214) โดยการไม่มีภาวะซึมเศร้า และความร่วมมือในการใช้ยา คอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดสามารถทํานายการควบคุมโรคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (OR = 19.13, 95%CI = 2.37,154.64 และ OR = 2.21, 95%CI = 1.03, 4.78 ตามลําาดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ: ภาวะซึมเศร้า และความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดมีผลต่อการควบคุม โรคในผู้ป่วยโรคหืด และเป็นปัจจัยที่สามารถจัดการได้ พยาบาลและทีมสุขภาพควรให้ความสําคัญกับการประเมินภาวะซึมเศร้า และความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด เพื่อเป็นแนวทางป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า รวมทั้งให้การดูแลที่เหมาะสมและพัฒนารูปแบบการพยาบาลส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด นําไปสู่การควบคุมโรคได้ดียิ่งขึ้นในผู้ป่วยโรคหืด