ปัจจัยทํานายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักหลังสิ้นสุดการรักษา 6 เดือนถึง 5 ปี

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ และอํานาจทํานายของการรบกวนจากอาการ ระยะของโรคความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำและความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง ต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักหลังสิ้นสุดการรักษา 6 เดือนถึง 5 ปี รูปแบบการวิจัย: การวิจัยความสัมพัน...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อภันตรี จันทะไทย, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, นพดล โสภารัตนาไพศาล, Aphantree Janthathai, Kanaungnit Pongthavornkamol, Doungrut Wattanakitkrileart, Nopadol Soparattanapaisarn
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48024
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ และอํานาจทํานายของการรบกวนจากอาการ ระยะของโรคความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำและความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง ต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักหลังสิ้นสุดการรักษา 6 เดือนถึง 5 ปี รูปแบบการวิจัย: การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทํานาย วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รอดชีวิตจากมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กําหนดจํานวน 108 ราย ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ชุดแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล การรบกวนจากอาการ ความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำ ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหุคูณแบบเข้าพร้อมกัน ผลการวิจัย: คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักหลังสิ้นสุดการรักษา 6 เดือนถึง 5 ปี อยู่ในระดับค่อนข้างสูง (X = 109.14, SD = 10.32) ปัจจัยที่ศึกษา 4 ตัวร่วมกันทํานายคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ20.4 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (R2 = .204, F(4, 103) = 6.586, p < .01) โดยการรบกวนจากอาการเป็นปัจจัยที่สามารถทํานายคุณภาพชีวิตดีที่สุด (β = -.295, p < .01) รองลงมาคือ ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง (β = -.261,p < .01) ส่วนระยะของโรคและความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำไม่สามารถทําานายคุณภาพชีวิตได้สรุปและข้อเสนอแนะ:การรบกวนจากอาการและความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตลดลงของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักหลังสิ้นสุดการรักษาพยาบาลควรตระหนักให้ความสําคัญต่อการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยเน้นการจัดการการรบกวนจากอาการและวางแผนการดูแลแก้ไขปัญหาความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง