ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน รูปแบบการวิจัย: การวิจัยทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: ศึกษากลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน 60 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่ม...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วิไล แสนยาเจริญกุล, กีรดา ไกรนุวัตร, ปิยะธิดา นาคะเกษียร, Wilai Saenyacharoenkul, Kerada Krainuwat, Piyatida Nakagasien
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48029
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน รูปแบบการวิจัย: การวิจัยทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: ศึกษากลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน 60 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามปกติร่วมกับโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหาร กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติเท่านั้น เครื่องมือที่ใช้ คือ โปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารระยะเวลา 8 สัปดาห์ มีกิจกรรมกลุ่ม 4 ครั้ง และติดตามทางโทรศัพท์ 1 ครั้ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนทดลอง หลังทดลอง (สัปดาห์ที่ 4) และระยะติดตามผล (สัปดาห์ที่ 8) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย: พฤติกรรมการบริโภคอาหาร แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F(1, 58) = 38.096, p < .001, F(1, 58) = 26.374, p < .001 และ F(1, 58) = 26.555, p < .001) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารนี้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานได้ และยังทำให้มีความมั่นใจในการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับภาวะเสี่ยงสูงต่อเบาหวานของตนเอง รวมทั้งมีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพดีกว่ากลุ่มควบคุม ดังนั้นพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนสามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคของกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคเบาหวานในอนาคต