ความรู้ในการประเมินและการจัดการผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ในการประเมินและการจัดการ ผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ในการประเมิน และการจัดการผ้ปู ่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อของพยาบาลวิชาชีพ กล่มุ ตัวอย่างเป็น พยาบาลวิชาชีพแผนกอายุรกรรม และศัลยกรรมโรงพย...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2019
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48298 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ในการประเมินและการจัดการ
ผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ในการประเมิน
และการจัดการผ้ปู ่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อของพยาบาลวิชาชีพ กล่มุ ตัวอย่างเป็น
พยาบาลวิชาชีพแผนกอายุรกรรม และศัลยกรรมโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จำนวน 185 ราย
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป และ
แบบสอบถามวัดความรู้ในการประเมินและการจัดการผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติไคแสควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน
ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ในการประเมินผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อของพยาบาล
วิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย และความรู้ในการจัดการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และไม่
พบความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ประสบการณ์การทำงาน และระยะเวลาการอบรม กับความรู้ในการ
ประเมินผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อ สำหรับลักษณะหอผู้ป่วยที่ปฏิบัติงานมีความ
สัมพันธ์กับความรู้ในการประเมินผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อ ส่วนอายุ และ
ประสบการณ์การทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้ในการจัดการผู้ป่วยระยะแรกของภาวะ
ช็อคจากการติดเชื้อ ระยะเวลาการอบรมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้ในการจัดการผู้ป่วย
ระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อ แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะหอผู้ป่วยที่ปฏิบัติงาน
กับความรู้ในการจัดการผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อ ผลการศึกษาครั้งนี้
มีข้อเสนอแนะว่า ควรจัดให้มีการอบรม และพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลให้กับพยาบาล
ผู้ปฏิบัติงานในเรื่องความรู้ในการประเมินและการจัดการผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการ
ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง |
---|