การประเมินผลการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาในวิชาการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริม การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลที่เรียนวิชาการพยาบาลมารดา-ทารกและ การผดุงครรภ์ จำนวน 175 ราย โดยการเน้นให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของเนื้อหาวิชาร่วมกับ การสะท้อนกลับเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาในชั้นเรียน...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ประนอม ภู่ศรีทอง, วรพรรณ ผดุงโยธี, Pranom Poosrithong, Vorrapun Phadungyotee
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48383
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริม การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลที่เรียนวิชาการพยาบาลมารดา-ทารกและ การผดุงครรภ์ จำนวน 175 ราย โดยการเน้นให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของเนื้อหาวิชาร่วมกับ การสะท้อนกลับเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาในชั้นเรียนภายหลังสืนสุดการเรียนการสอน ในแต่ละชั่วโมง โดยใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ในเนื้อหา หลักของวิชาก่อนเรียนและหลังสิ้นสุดการเรียน แบบประเมินพฤติกรรมนักศึกษาขณะเรียน และ แบบประเมินการจัดการเรียนการสอนเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษา มีคะแนนความรู้ในเนื้อหาหลักของวิชาหลังได้รับการสอนที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ มากกว่าก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักศึกษาทุกราย (ร้อยละ 100) ลงชื่อ เข้าเรียนด้วยตนเอง ขาดเรียนเฉลี่ย 4 ราย/ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 2.28 เข้าเรียนสายมากกว่า 5 นาที เฉลี่ย 12 ราย/ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 6.85 มีการพูดคุยกันเองและทำงานอื่นระหว่างเรียนบ้าง เฉลี่ย 11 ราย/ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 6.25 นักศึกษาประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับสูงทุกหัวข้อ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษา เห็นความสำคัญของเนื้อหาวิชาร่วมกับการสะท้อนกลับ ทำให้นักศึกษาพยาบาลสามารถพัฒนา ศักยภาพการเรียนรู้ที่ดีขึ้น มีพฤติกรรมการเรียนที่ดี และใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ได้