ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของพยาบาลสตรีวัยกลางคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการ ออกกำลังกายของพยาบาลสตรีวัยกลางคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อาการของภาวะหมดประจำเดือน ความเครียด จำนวนบุคคลที่อยู่ในความรับผิดชอบ รายได้ ครอบครัว ลักษณะงาน จำนวนชั่วโมงปฏิบัติงานต่อสัปดาห์ การรับรู้ประโยชน์ข...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ธิติพร เกียรติกังวาน, มณี อาภานันทิกุล, พรทิพย์ มาลาธรรม, Thitiporn Kiadkangwan, Manee Arpanantikul, Porntip Malathum
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48423
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการ ออกกำลังกายของพยาบาลสตรีวัยกลางคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อาการของภาวะหมดประจำเดือน ความเครียด จำนวนบุคคลที่อยู่ในความรับผิดชอบ รายได้ ครอบครัว ลักษณะงาน จำนวนชั่วโมงปฏิบัติงานต่อสัปดาห์ การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย การรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกาย การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกาย และการ สนับสนุนทางสังคมในการออกกำลังกาย โดยใช้รูปแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ เป็นกรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วย พยาบาลสตรีอายุ 45-59 ปี จำนวน 150 คน ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ของภาคตะวันออก เฉียงเหนือ จำนวน 5 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือนธันวาคม 2551- กุมภาพันธ์ 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการทางสถิติด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณด้วย วิธีบังคับเข้า (Enter method) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยคัดสรรทั้งหมด 10 ตัวแปร สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของพยาบาลสตรีวัยกลางคนในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือได้ร้อยละ 26.9 แต่มี 3 ปัจจัย ได้แก่ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการ ออกกำลังกาย ความเครียด และการสนับสนุนทางสังคมในการออกกำลังกายที่สามารถร่วมกัน ทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของพยาบาลสตรีวัยกลางคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความเครียด การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในการออกกำลังกาย และการสนับสนุนทางสังคมในการออกกำลังกายเป็นตัวแปรที่สามารถ ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของพยาบาลสตรีวัยกลางคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นควรให้ความสำคัญที่จะช่วยพยาบาลให้มีการจัดการความเครียดที่ เหมาะสม ส่งเสริมให้มีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง กระตุ้นให้มีการออกกำลังกายโดยผ่านการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวและเพื่อน