ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบวิเคราะห์ความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 140 คน เลือกตัวอย่างแบบสุ่ม หลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประเมินภาวะ...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2019
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48426 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบวิเคราะห์ความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2
ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 140 คน เลือกตัวอย่างแบบสุ่ม
หลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประเมินภาวะโภชนาการและการตอบแบบสอบถามด้วย
ตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเพียร์สัน และไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวม การรับรู้ความรุนแรง
ของโรค การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคในการป้องกันโรคมีค่าเฉลี่ยสูง อย่างไรก็ตามการรับรู้
โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยตํ่า
โดยเฉพาะพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร และการผ่อนคลายความเครียด ส่วนพฤติกรรม
การออกกำลังกายมีค่าเฉลี่ยสูง ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า พฤติกรรมการป้องกัน
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวม การรับรู้
ประโยชน์ในการป้องกันโรค และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค และมีความสัมพันธ์ทางลบ
กับการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรค ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะต่อพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
ในการส่งเสริมการรับรู้โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคเพื่อเป็นการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกัน
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของนักเรียน |
---|