ลักษณะการปรับตัวทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการปรับตัวทางสังคมของนักศึกษา พยาบาลของสถาบันการศึกษาพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 3 ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการปรับตัวทางสังคม ซึ่งประเมิน 6 ด้าน คือ การปฏิบัติตามมาตรฐานทางสังคม ทักษะทางสัง...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: กนกพร เรืองเพิ่มพูล, สุดา รองเมือง, พัชรินทร์ นินทจันทร์
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48790
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการปรับตัวทางสังคมของนักศึกษา พยาบาลของสถาบันการศึกษาพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 3 ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการปรับตัวทางสังคม ซึ่งประเมิน 6 ด้าน คือ การปฏิบัติตามมาตรฐานทางสังคม ทักษะทางสังคม แนวโน้มพฤติกรรม ต่อต้านสังคม ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์ในสถานศึกษา และความสัมพันธ์ใน ชุมชนที่อยู่อาศัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการปรับตัวทางสังคมโดยภาพรวมของนักศึกษา พยาบาลอยู่ในระดับค่อนข้างดีถึงดี ส่วนลักษณะการปรับตัวทางสังคมรายด้านพบว่า การปรับตัว ด้านทักษะทางสังคม ด้านความสัมพันธ์ในสถานศึกษา และด้านความสัมพันธ์ในชุมชนที่อยู่อาศัย อยู่ในระดับค่อนข้างดี ส่วนการปรับตัวด้านการปฏิบัติตามมาตรฐานทางสังคม แนวโน้มพฤติกรรม ต่อต้านสังคม และด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวอยู่ในระดับดี จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การปรับตัวทางสังคมโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนพบว่า นักศึกษาที่มีรายได้ของครอบครัว แตกต่างกัน มีการปรับตัวด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและการปรับตัวด้านความสัมพันธ์ใน สถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมแตกต่างกันมี การปรับตัวด้านทักษะทางสังคมและการปรับตัวด้านความสัมพันธ์ในชุมชนที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และนักศึกษาที่มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาแตกต่างกันมีการปรับตัว ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและการปรับตัวด้านความสัมพันธ์ในชุมชนและการปรับตัวทางสังคม โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูล พื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างให้นักศึกษาพยาบาลมีการปรับตัวทางสังคมได้ อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น