การรับรู้ความเสี่ยง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานตามเกณฑ์ และวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพในญาติสายตรงลำดับแรกของผู้ที่เป็นเบาหวาน
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความเสี่ยง ความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานตามเกณฑ์ และวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพในญาติสายตรงลำดับแรก ของผู้ที่เป็นเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 400 ราย เป็น กลุ่มญาติสายตรงของผู้ที่เป็นเบาหวานจำนวน 2...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48822 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความเสี่ยง
ความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานตามเกณฑ์ และวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพในญาติสายตรงลำดับแรก
ของผู้ที่เป็นเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 400 ราย เป็น
กลุ่มญาติสายตรงของผู้ที่เป็นเบาหวานจำนวน 200 รายและกลุ่มประชาชนทั่วไปจำนวน 200 ราย
ทำการเก็บข้อมูลในโรงพยาบาลรามาธิบดีและพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลรามาธิบดี เก็บ
ข้อมูลโดยสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม ในช่วงปี พ.ศ. 2551 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย
ไคสแควร์ พบว่าการเป็นญาติสายตรงของผู้ที่เป็นเบาหวานไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความ
เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ส่วนระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานตามเกณฑ์มีความ
สัมพันธ์กับการเป็นญาติสายตรงของผู้ที่เป็นเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการทดสอบ
ด้วย t-test พบว่า กลุ่มญาติสายตรงของผู้ที่เป็นเบาหวานมีคะแนนเฉลี่ยความเสี่ยงต่อการเกิด
โรคเบาหวานตามเกณฑ์สูงกว่ากลุ่มประชาชนทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เป็นที่สังเกตว่า
กลุ่มประชาชนทั่วไป มีความเสี่ยงต่อเบาหวานตามเกณฑ์ ในระดับสูง ถึงร้อยละ 39 นอกจากนี้ พบว่า
การรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานตาม
เกณฑ์ไม่มีความสัมพันธ์กัน เมื่อเปรียบเทียบวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพ 6 ด้าน คือ ความรับผิดชอบ
ต่อสุขภาพ การออกกำลังกาย โภชนาการ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การพัฒนาทางจิตวิญญาณ
การจัดการกับความเครียด ระหว่างสองกลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน จากผลการศึกษาครั้งนี้
ทำให้ทีมบุคลากรสุขภาพควรปรับปรุงหรือค้นหากลยุทธ์ใหม่ในการที่จะทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคเบาหวาน และประชาชนทั่วไปที่ยังไม่เกิดโรคเบาหวาน มีความตระหนักถึงการมี
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมต่อการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อ
เป็นลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในอนาคต |
---|