การพยาบาลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดสมองด้วยระบบนำวิถีแบบ Frame-based และ Frameless
ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทที่มีพยาธิสภาพหรือรอยโรคในเนื้อสมองที่มารับการผ่าตัดเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ซึ่งโรคที่พบได้มากที่สุด คือ โรคเนื้องอกสมอง พบว่าเป็น 1 ใน 5 ลำดับโรคแรกของหน่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช สำหรับแนวทางการรักษาในปัจจุบันพบว่ามีหลากหลาย เช่น การผ่าตัดเอาเนื้องอกออกท...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48846 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทที่มีพยาธิสภาพหรือรอยโรคในเนื้อสมองที่มารับการผ่าตัดเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ซึ่งโรคที่พบได้มากที่สุด คือ โรคเนื้องอกสมอง พบว่าเป็น 1 ใน 5 ลำดับโรคแรกของหน่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช สำหรับแนวทางการรักษาในปัจจุบันพบว่ามีหลากหลาย เช่น การผ่าตัดเอาเนื้องอกออกทั้งหมดหรือบางส่วน โดยการทำ craniotomy, awake craniotomy หรือ endoscopic เป็นต้น การผ่าตัดสมองเป็นการผ่าตัดที่มีความยุ่งยากซับซ้อน โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ลึกและอันตราย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกำหนดตำแหน่งของพยาธิสภาพที่เนื้อสมองอย่างละเอียด เพื่อให้การผ่าตัดตรงตำแหน่งที่ถูกต้อง และป้องกันการบาดเจ็บที่เนื้อสมองส่วนอื่นๆ ลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ดังนั้นจึงต้องมีการใช้เครื่องกำหนดตำแหน่งในสมองแบบ stereotactic system เพื่อช่วยในการหาตำแหน่งของพยาธิสภาพของเนื้อสมองที่แน่นอน และแม่นยำในการวินิจฉัยและการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพสูงสุด
ดังนั้น พยาบาลห้องผ่าตัดจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจกระบวนการผ่าตัดและการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นอย่างดี เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยและการผ่าตัดประสบความสำเร็จ บทความฉบับนี้นิพนธ์จากประสบการณ์ของผู้นิพนธ์และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดสมองด้วยระบบนำวิถีแบบ frame-based และ frameless และการพยาบาลในระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด เพื่อเป็นประโยชน์แก่พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ |
---|