ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคองในระยะคลอดต่อความเครียด และการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลแบบสนับสนุน ประคับประคองในระยะคลอด ต่อความเครียดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของมารดา วัยรุ่นครรภ์แรก การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเฉพาะเจาะจงจากมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกที่มีอายุ ระหว่าง 13-19 ปี ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น จำ...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/52544 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลแบบสนับสนุน
ประคับประคองในระยะคลอด ต่อความเครียดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของมารดา
วัยรุ่นครรภ์แรก การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเฉพาะเจาะจงจากมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกที่มีอายุ
ระหว่าง 13-19 ปี ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น จำนวน 70 ราย แบ่งเป็น
กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 35 ราย โดยกลุ่มควบคุมจะได้รับการดูแลตามปกติ และ
กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคองในระยะรอคลอด ระยะคลอด และ
ระยะหลังคลอด 2 ชั่วโมงจากผู้วิจัย ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม 2551 รวบรวม
ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความเครียดของมารดาวัยรุ่นในระยะคลอด และแบบสอบถามการ
รับรู้ประสบการณ์การคลอด การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนน
เฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างทั้งสอง ใช้การทดสอบทีแบบอิสระ (Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า
มารดาวัยรุ่นครรภ์แรกกลุ่มทดลองมีความเครียดในระยะคลอดต่ำกว่า และมีการรับรู้ประสบการณ์
การคลอดดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยนี้เสนอแนะว่า การพยาบาล
แบบสนับสนุนประคับประคองในระยะคลอด สามารถนำมาใช้ในการพยาบาลดูแลมารดาวัยรุ่น
ในระยะคลอด เพื่อช่วยในการลดความเครียดของมารดาวัยรุ่นในระยะคลอด และช่วยให้มารดา
วัยรุ่นมีการรับรู้ประสบการณ์การคลอดที่ดี ซึ่งจะส่งผลให้มารดาวัยรุ่นสามารถปรับบทบาทการ
เป็นมารดาได้อย่างเหมาะสม |
---|