แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดการคั่งค้างของเสมหะในผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นที่เป็นโรคหลอดลมโป่งพอง

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อ พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดการคั่งค้าง ของเสมหะในผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นที่เป็นโรคหลอดลมโป่งพอง เนื่องจากหากปล่อยให้เกิดการคั่งค้าง ของเสมหะจะทำให้ขัดขวางการแลกเปลี่ยนก๊าซ ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะพร่องออกซิเจน และอาจเสีย ชีวิตได้ ในการศึกษาครั้งนี้ใช้กระบวนการทบทวนอย่างเป...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: จิตสิริ รุ่นใหม่, เสริมศรี สันตติ, เรณู พุกบุญมี, Jitsiri Roonmai, Sermsri Santati, Renu Pookboonmee
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/52547
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อ พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดการคั่งค้าง ของเสมหะในผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นที่เป็นโรคหลอดลมโป่งพอง เนื่องจากหากปล่อยให้เกิดการคั่งค้าง ของเสมหะจะทำให้ขัดขวางการแลกเปลี่ยนก๊าซ ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะพร่องออกซิเจน และอาจเสีย ชีวิตได้ ในการศึกษาครั้งนี้ใช้กระบวนการทบทวนอย่างเป็นระบบและกระบวนการพัฒนาการ ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งมีงานวิจัยและบทความทางวิชาการที่สัมพันธ์ กับการลดการคั่งค้างของเสมหะในผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นที่เป็นโรคหลอดลมโป่งพองทั้งหมด 25 เรื่อง แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น ได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านที่มีความ เชี่ยวชาญในสาขากุมารเวชศาสตร์และสาขาการพยาบาลเด็ก ในเรื่องความถูกต้องของเนื้อหา ความตรงกับปัญหาทางคลินิกที่ต้องการแก้ไข ความน่าเชื่อถือเพียงพอที่จะนำไปใช้ และแนว โน้มหรือความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติ แนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ประกอบด้วย 1) การประเมินความสามารถในการไอ 2) การประเมินอาการทางคลินิก 3) การประเมินความ เหนียวของเสมหะ 4) การประเมินสารน้ำที่ผู้ป่วยได้รับ 5) การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำอย่าง เพียงพอตามแผนการรักษาของแพทย์ 6) การเลือกใช้วิธีระบายเสมหะ และ 7) การประเมิน ประสิทธิภาพในการระบายเสมหะ การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรนำแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ ไปทดลองใช้ในหน่วยงาน โดยมีการประเมินและติดตามผล ตลอดจนดัดแปลงและปรับปรุง แนวปฏิบัติการพยาบาลให้เหมาะสม