ผลของการประยุกต์ใช้สื่อประสมต่อความคาดหวังและความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนในห้องผ่าตัดของนักศึกษาพยาบาล

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้สื่อประสม ต่อความคาดหวังและความพึงพอใจในการเรียนรู้การเรียนการสอนในห้องผ่าตัด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลรามาธิบดีชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มควบคุมได้รับการ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: กีรติกานต์ ป้ายงูเหลือม, ศรีเวียงแก้ว เต็งเกียรติ์ตระกูล, Kieratikan Payngulume, Sriwiengkaew Tengkiattrakul
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/52548
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้สื่อประสม ต่อความคาดหวังและความพึงพอใจในการเรียนรู้การเรียนการสอนในห้องผ่าตัด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลรามาธิบดีชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มควบคุมได้รับการสอนแบบปกติ และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่ม ทดลองได้รับการสอนแบบประยุกต์ใช้สื่อประสมในการเรียนรู้แบบเอกซ์พาร์ส (ExPARS: Exploring needs, Planning, Activity, Reflecting, and Synthesizing) โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่ มิถุนายน พ.ศ. 2549 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคาดหวัง และความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนในห้องผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มโดยใช้สถิติแบบ Independent t-test ผลการวิจัย พบว่า ความคาดหวังในการจัดการเรียนการสอนในห้องผ่าตัดทั้งรายด้านและโดยรวมระหว่างกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจ ในการเรียนการสอนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม ทั้งรายด้านและโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ จากผลการวิจัย มีข้อเสนอแนะว่า อาจารย์พยาบาลห้องผ่าตัดควรให้ความสำคัญกับการ กำหนดกลยุทธ์ที่สามารถพัฒนาวิธีการเรียนรู้ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในการสนับสนุน การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจช่วยแก้ปัญหาการขาดประสบการณ์การเรียนรู้ในห้อง ผ่าตัด ในขณะที่นักศึกษามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นแต่แหล่งฝึกมีจำกัด