ประสิทธิภาพของดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวล การตอบสนองทางสรีระ ความจุปอดและความอิ่มตัวของออกซิเจนในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของดนตรีบำบัดใน การลดความวิตกกังวลและส่งเสริมการตอบสนองทางสรีระโดยการลดอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ความดันโลหิต เพิ่มความจุปอดและความอิ่มตัวของออกซิเจนในผู้ป่วยที่มีภาวะ การหายใจล้มเหลวที่ใช้เครื่องช่วยหายใจโดยศึกษาในผู้ป่วยที่ใช้เ...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/52603 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของดนตรีบำบัดใน
การลดความวิตกกังวลและส่งเสริมการตอบสนองทางสรีระโดยการลดอัตราการเต้นของหัวใจ
อัตราการหายใจ ความดันโลหิต เพิ่มความจุปอดและความอิ่มตัวของออกซิเจนในผู้ป่วยที่มีภาวะ
การหายใจล้มเหลวที่ใช้เครื่องช่วยหายใจโดยศึกษาในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่หอผู้ป่วย
วิกฤตทางอายุรกรรม หอผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ และหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรมชาย-หญิง 1
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2543 ถึงเดือน มกราคม
พ.ศ. 2544 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 30 ราย กลุ่ม
ตัวอย่างทุกรายได้รับการประเมินความสนใจในการฟังดนตรีและเป็นผู้เลือกฟังเสียงดนตรี
ธรรมชาติที่จัดไว้ ในระยะทดลองกลุ่มตัวอย่างฟังดนตรีที่ได้เลือกด้วยตนเองทางเครื่องหูฟังเป็นเวลา
30 นาที สำหรับระยะควบคุมได้รับการใส่เครื่องหูฟังโดยไม่มีเสียงดนตรีเป็นเวลา 30 นาที โดยทั้ง
2 ระยะ ได้จัดให้ผู้ป่วยนอนพักในท่าศีรษะสูงและกั้นม่านพร้อมแขวนป้ายห้ามรบกวน ผลการ
วิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการฟังดนตรีบำบัดขณะใช้เครื่องช่วยหายใจ มีระดับความวิตกกังวล อัตรา
การเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ความดันเลือดซิสโตลิกและความดันเลือดแดงเฉลี่ยลดลงมากกว่า
ระยะควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมทั้งมีค่าความจุปอดและความอิ่มตัวของออกซิเจนเพิ่มขึ้น
มากกว่าระยะควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับความดันเลือดไดแอสโตลิกในระยะทดลอง
และระยะควบคุมไม่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปว่าดนตรีบำบัดเป็น
วิธีการที่ทำได้ง่าย ลงทุนต่ำและมีประสิทธิภาพในการลดความวิตกกังวล และส่งเสริมการผ่อนคลายใน
ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ |
---|