การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนเมืองภายใต้มาตรฐานการจัดระบบบริการปฐมภูมิ

วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเข้าถึงบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพภายใต้มาตรฐาน การจัดระบบบริการปฐมภูมิในการประกันสุขภาพถ้วนหน้าระหว่างประชากรทั่วไปและลูกจ้างประจำ ของรัฐ รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาวิจัยจากข้อมูลย้อนหลังจากรายงานการศึกษาเชิงสำรวจของนักศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ภาควิชาพยาบาล...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สุพรรณี ธรากุล, อัญชลี นวลคล้าย, กรรณิการ์ คงทอง, กานต์ ฉลาดธัญญกิจ, Supunnee Thrakul, Anchalee Naulclai, Kannika Kongtong, Karn Chaladthanyagid
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/52608
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเข้าถึงบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพภายใต้มาตรฐาน การจัดระบบบริการปฐมภูมิในการประกันสุขภาพถ้วนหน้าระหว่างประชากรทั่วไปและลูกจ้างประจำ ของรัฐ รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาวิจัยจากข้อมูลย้อนหลังจากรายงานการศึกษาเชิงสำรวจของนักศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 127 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) ประชากรทั่วไปในชุมชนประดิษฐ์โทรการ (พหลโยธิน 47-49) ซึ่งส่วนใหญ่ ใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (เดิมเรียกว่า “บัตรทอง หรือบัตร 30 บาท”) และ (2) ประชากร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างประจำของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในชุมชนพหลโยธิน 45 ใช้สิทธิสวัสดิการ รักษาพยาบาลโดยเบิกได้จากหน่วยงานรัฐ ซึ่งเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ตัวแปรที่ใช้ศึกษา คือ เกณฑ์ประเมินผลการเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพในโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ซึ่งประกอบด้วย การได้รับคำแนะนำในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ การได้รับบริการเชิงรุกจากเจ้าหน้าที่ การมีความรู้พื้นฐานใน การดูแลตนเอง การมีทักษะพื้นฐานในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการได้รับการคัดกรองโรค ทำการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนประดิษฐ์โทรการ (พหลโยธิน 47-49) ได้รับคำแนะนำในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ เรื่องการกินอาหารที่พอเหมาะมาก ที่สุดถึงร้อยละ 73.1 ส่วนชุมชนพหลโยธิน 45 เป็นเรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมมากที่สุดถึง ร้อยละ 63.3 และทั้งสองกลุ่มได้รับบริการเชิงรุกจากเจ้าหน้าที่ในการสนับสนุนการพึ่งตนเองมากที่สุด ร้อยละ 83.6 และ 61.7 การมีความรู้พื้นฐานในการดูแลตนเองเมื่อเป็นไข้เป็นหวัดสูงถึงร้อยละ 89.6 และ 70.0 การมีทักษะพื้นฐานในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีเลือดกำเดาออกร้อยละ 79.1 และ 53.3 และการได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 59.7 และ 36.7 และโรค เบาหวานร้อยละ 38.8 และ 35.0 ตามลำดับ การได้รับบริการเชิงรุกจากเจ้าหน้าที่และการมีทักษะพื้นฐานในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมทั้งการได้รับการคัดกรองโรคของทั้งสองกลุ่มมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสรุป มาตรฐานการ จัดระบบบริการปฐมภูมิในโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านการ ส่งเสริมสุขภาพได้ พยาบาลชุมชนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนซึ่งจะ นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี