การวัดระดับทัศนคติและระดับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพของบุคลากร คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทัศนคติ ระดับการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพของบุคลากรพร้อมทั้งเปรียบเทียบระดับทัศนคติและระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากร เกี่ยวกับประกันคุณภาพคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) รวบรวมข้อมูลโดยใช้...
Saved in:
Main Authors: | , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/54037 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทัศนคติ ระดับการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพของบุคลากรพร้อมทั้งเปรียบเทียบระดับทัศนคติและระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากร เกี่ยวกับประกันคุณภาพคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งระดับความเชื่อมั่น 95% จากจำนวนบุคลากร 123 คน ซึ่งผลการวิจัย พบว่า (1) การวัดระดับทัศนคติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพทั้ง 4 ด้าน มีระดับทัศนคติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยรวม ( x̄ ) เท่ากับ 3.23 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.784 (2) การวัดระดับการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยรวม ( x̄ ) เท่ากับ 3.03 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวม (S.D.) เท่ากับ 0.743 (3) การเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับทัศนคติทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเอาใจใส่ (attention) มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านหน่วยงานและระยะเวลาการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน ด้านความเข้าใจ (comprehension)และด้านการคงอยู่ (retention) มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านหน่วยงานที่แตกต่างกัน และด้านการยอมรับ (acceptance) มีปัจจัยส่วนบุคคลไม่แตกต่างกันทางสถิติ (4) การเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการมีส่วนร่วม ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านหน่วยงานส่งผลให้การมีส่วนร่วมในด้านการวางแผน (Plan (P)) ด้านการดำเนินงาน (Do (D)) และด้านการตรวจสอบผลการดำเนินงาน (Check (C)) แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านระยะการปฏิบัติงานส่งผลให้ด้านการดำเนินงาน(Do (D)) ด้านการตรวจสอบผลการดำเนินงาน (Check (C))และด้านการปรับปรุงการดำเนินงาน (Act(A)) มีความแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่ส่งผลต่อระดับการมีส่วนร่วม |
---|