วิเคราะห์กฎหมายสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เรื่อง แสงสว่าง และเสียง
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์กฎหมายสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เรื่อง แสงสว่าง และเสียง เพื่อพิจารณาความชัดเจนในการนำกฎหมายไปปฏิบัติให้ความคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง และเพื่อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยทำการศึกษาเอกสารกฎหมายสิ่งแวดล้อมในการทำง...
Saved in:
Main Authors: | , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/54082 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์กฎหมายสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เรื่อง แสงสว่าง และเสียง เพื่อพิจารณาความชัดเจนในการนำกฎหมายไปปฏิบัติให้ความคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง และเพื่อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยทำการศึกษาเอกสารกฎหมายสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ของกระทรวงแรงงาน คือ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่เกี่ยวข้องกับกฎกระทรวงแรงงาน วิธีการวิเคราะห์ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในเอกสารกฎกระทรวงและกฎหมายที่นำมาศึกษาครั้งนี้ โดยมีเกณฑ์พิจารณาจากความชัดเจนของข้อกำหนดที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้อง สามารถนำไปปฏิบัติได้
ประเด็นที่กฎหมายยังระบุไม่ชัดเจนเพียงพอต่อการนำไปปฏิบัติมี 5 ประเด็นคือ (1) การกำหนดเรื่องแสงจ้าไม่มีความชัดเจน ขอเสนอให้มีรายละเอียดมากขึ้นในการกำหนดว่าแสงจ้าประเภทใดที่ห้ามไม่ให้มีในสถานประกอบกิจการ (2) ไม่มีนิยามของระดับเสียงสูงสุด เสียงกระแทกกับระดับเสียงดังต่อเนื่อง จึงไม่สามารถจำแนกชนิดของเสียงในที่ทำงานเพื่อเปรียบเทียบกับกฎหมาย จึงเสนอให้มีการทบทวนเพิ่มเติมนิยาม (3) ตรวจสอบกฎหมายเรื่องการตรวจสุขภาพที่อ้างอิงถึงพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ไม่พบเรื่องการตรวจสุขภาพตามที่อ้างถึง เสนอให้แก้ไขในสิ่งที่อ้างถึง (4) การกำหนดมาตรฐานความเข้มของแสงสว่างขั้นต่ำ กฎหมายกำหนดเป็นช่วง เสนอให้แก้ไขมาตรฐานความเข้มของแสงสว่างขั้นต่ำให้เป็นค่ามาตรฐานตัวเลขเดียว ไม่เป็นช่วง รวมถึงทบทวนวิธีการวัดระดับแสงโดยวางหัววัดแสงบนทางเดิน (5) เรื่องการอนุรักษ์การได้ยิน ไม่ได้ระบุเรื่องปริมาณเสียงสะสมมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดให้มีมาตรการอนุรรักษ์การได้ยิน เสนอให้พิจารณาเรื่องปริมาณเสียงสะสม เมื่อลูกจ้างได้รับปริมาณเสียงสะสมร้อยละ 100 (100%dose) นายจ้างต้องดำเนินการมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน และที่สำคัญคือเสนอให้ยกเลิกบังคับการจัดทำแผนผังแสดงระดับเสียง เนื่องจากมีงานหลายประเภทไม่สามารถจัดทำได้ รวมถึงเสนอให้แก้ไขการบันทึกข้อมูลและจัดทำเอกสารการดำเนินการเรื่องมาตรการอนุรักษ์การได้ยินไว้ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าห้าปี เพื่อแก้ไขให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงแรงงาน กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างฯ พ.ศ. 2547 ให้นายจ้างเก็บบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง ไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างแต่ละราย |
---|