ผลของโปรแกรมให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยต่อความวิตกกังวลและภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับยาเคมีบำบัด

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมให้ข้อมูลเชิงรูปธรรม-ปรนัยต่อความวิตกกังวลและภาวะการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระหว่างและหลังได้รับยาเคมีบำบัด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับยาเคมีบำบัดแบบผู้...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: พิจิตรา เล็กดําารงกุล, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, นพดล ศิริธนารัตนกุล, ศิวพร ศิริภูล, เพ็ญใจ จิตรนําาทรัพย์, Pichitra Lekdamrongkul, Kanaungnit Pongthavornkamol, Siritanaratkul Siritanaratkul, Siwaporn Siripoon, Penjai Jitnumsub
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/54242
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมให้ข้อมูลเชิงรูปธรรม-ปรนัยต่อความวิตกกังวลและภาวะการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระหว่างและหลังได้รับยาเคมีบำบัด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับยาเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยในจำนวน 68 ราย ได้รับการจัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 34 รายโดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมข้อมูลเชิงรูปธรรม-ปรนัย ประกอบด้วย ดีวีดีการ์ตูนแอนนิเมชั่น หนังสือคู่มือ และคำแนะนำและกระตุ้นการปฏิบัติทางโทรศัพท์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูล 3 ช่วงเวลา: ก่อนเริ่มต้นโปรแกรม (วัดครั้งที่ 1) 2 สัปดาห์และ 6 เดือนหลังเข้าร่วมโปรแกรม (วัดครั้งที่ 2 และ 3 ตามลำดับ) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ และแบบประเมินภาวะการทำหน้าที่ของร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ one-way repeated measures ANOVA and repeated measures ANCOVA test ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีแนวโน้มของค่าคะแนนความวิตกกังวลลดลงและคะแนนภาวะการทำหน้าที่ของร่างกายสูงกว่ากลุ่มควบคุมในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ ผลความแตกต่างนี้พบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ช่วงระยะเวลา 6 เดือนหลังได้รับโปรแกรม สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาวิจัยสนับสนุนว่าโปรแกรมข้อมูลเชิงรูปธรรม-ปรนัยร่วมกับคำแนะนำและกระตุ้นทางโทรศัพท์อย่างเพียงพอมีประสิทธิผลต่อการลดความวิตกกังวลและธำรงภาวะการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระหว่างการรักษา พยาบาลควรนำรูปแบบการให้ข้อมูลเชิงรูปธรรม-ปรนัยไปใช้ในการเตรียมผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาให้สามารถเผชิญความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างและภายหลังได้รับยาเคมีบำบัด