ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ในมารดาที่ทำงานนอกบ้าน

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายของ รายได้ ระดับการศึกษา ทัศนคติ การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระยะเวลาที่ลาคลอด และชั่วโมงการทำงานต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนในมารดาที่ทำงานนอกบ้าน รูปแบบการวิจัย: การศึกษาวิจัยเชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลั...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ชิดชนก พันธ์ป้อม, วรรณา พาหุวัฒนกร, ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, Chidchanok Phunpom, Wanna Phahuwatanakorn, Piyanun Limruangrong
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/54245
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายของ รายได้ ระดับการศึกษา ทัศนคติ การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระยะเวลาที่ลาคลอด และชั่วโมงการทำงานต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนในมารดาที่ทำงานนอกบ้าน รูปแบบการวิจัย: การศึกษาวิจัยเชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดที่กลับไปทำงานนอกบ้านที่มีบุตรอายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลสระบุรี โรงพยาบาลพระพุทธบาท และโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จำนวน 182 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสัมภาษณ์การให้อาหารทารก วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณาและสถิติถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัย: รายได้ ระดับการศึกษา ทัศนคติ การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระยะเวลาที่ลาคลอด และชั่วโมงการทำงาน สามารถร่วมกันทำนายความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ได้ร้อยละ 43.90 (R2 = .439, p < .05) แต่มีเพียง 2 ปัจจัยที่สามารถทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนในมารดาที่ทำงานนอกบ้านได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ทัศนคติ (OR = 1.149, 95%CI = 1.075, 1.228, p < .001) และระยะเวลาที่ลาคลอด (OR = 2.903, 95%CI = 1.327, 6.350, p = .008) สรุปและข้อเสนอแนะ: ทัศนคติ และระยะเวลาที่ลาคลอดมีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ในมารดาที่ทำงานนอกบ้าน จึงมีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะพยาบาลควรมีบทบาทในการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้กับมารดาและครอบครัว รวมทั้งร่วมผลักดันนโยบายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และให้มารดาหลังคลอดที่ทำงานสามารถลาคลอดได้นานกว่า 90 วัน