ไทดำ : พลวัตวัฒนธรรมกับการธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ผ่านดนตรี

บทความนี้มุ่งอธิบายการธำรงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำผ่านการวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีที่พบในวัฒนธรรมดนตรีของชาวไทดำภายใต้บริบททางสังคมวัฒนธรรมใน 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และไทย ซึ่งเป็นความพยายามอธิบายผ่านการศึกษาเชิงบูรณาการตามแนวทางการศึกษาด้า...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สุธี จันทร์ศรี, สมทรง บุรุษพัฒน์, Sutee Chansri, Somsonge Burusphat
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย. สาขาวิชาภาษาศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/55086
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทความนี้มุ่งอธิบายการธำรงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำผ่านการวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีที่พบในวัฒนธรรมดนตรีของชาวไทดำภายใต้บริบททางสังคมวัฒนธรรมใน 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และไทย ซึ่งเป็นความพยายามอธิบายผ่านการศึกษาเชิงบูรณาการตามแนวทางการศึกษาด้านมานุษยวิทยาการดนตรีและมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมดนตรีไทดำทั้ง 3 ประเทศมีลักษณะเฉพาะทางดนตรีที่สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ภายใต้บริบททางสังคมที่แตกต่างกันไป ได้แก่ 1) การคงสภาพของลักษณะเฉพาะทางดนตรีเพื่อตอกย้ำจิตสำนึกความเป็นชาติพันธุ์ 2) การเลือกนำเสนอลักษณะเฉพาะทางดนตรีเพื่อสร้างความเด่นชัดของพรมแดนชาติพันธุ์บนพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย 3) การผสมผสานองค์ประกอบดนตรีเข้ากับดนตรีสมัยนิยม เพื่อต่อรองในเชิงคุณค่าสุนทรียะและแสดงถึงศักยภาพทางดนตรีที่มีความทันสมัยทัดเทียมกับดนตรีกระแสหลัก 4) สร้างสรรค์องค์ประกอบทางดนตรีขึ้นใหม่ โดยส่งผ่านไปยังสมาชิกในชุมชนให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวไทดำที่สะท้อนจิตสำนึกของชาวไทดำได้ สะท้อนให้เห็นว่าชาวไทดำสามารถเรียนรู้และสร้างสรรค์วัฒนธรรมดนตรีของตนให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดนตรีของชาวไทดำจึงได้รับการสืบทอดและทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ภายใต้พลวัตวัฒนธรรมที่ไม่หยุดนิ่งต่อไปได้