วัดในพุทธศาสนากับความพร้อมในการรองรับสังคมผู้สูงอายุ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามว่าวัดในประเทศไทยมีความพร้อม ในการรองรับสังคมผู้สูงอายุหรือไม่ มีความพร้อมในด้านใดบ้าง มีปัจจัยอะไรที่ทำให้วัด มีความพร้อมแตกต่างกัน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณศึกษากับวัดพัฒนาตัวอย่างทั่วประเทศจานวน 866 วัด ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2555 ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมวัดส่วนให...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: เสาวภา พรสิริพงษ์, ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์, ยงยุทธ บุราสิทธิ์, Saowapa Pornsiripongse, Kwanchit Sasiwongsaroj, Yongyuth Burasith
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/55342
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามว่าวัดในประเทศไทยมีความพร้อม ในการรองรับสังคมผู้สูงอายุหรือไม่ มีความพร้อมในด้านใดบ้าง มีปัจจัยอะไรที่ทำให้วัด มีความพร้อมแตกต่างกัน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณศึกษากับวัดพัฒนาตัวอย่างทั่วประเทศจานวน 866 วัด ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2555 ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมวัดส่วนใหญ่ มีความพร้อมในระดับปานกลาง เมื่อแยกรายด้านพบว่า วัดมีความพร้อมด้านการสร้างเครือข่ายและพื้นที่ทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุในระดับมาก ด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตและด้านการส่งเสริมสุขภาพในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยที่ทำให้วัดมีความพร้อมแตกต่างกัน ได้แก่ ศักยภาพของเจ้าอาวาส จำนวนและคุณสมบัติของพระในวัด ความรู้ของพระ การสนับสนุนจากชุมชนรอบวัด และการทำงานเป็นเครือข่าย แนวทางในการสนับสนุนความพร้อมของวัดได้แก่ การจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวัดที่ประสบผลสำเร็จในการทำงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ การถวายความรู้เรื่องการบริหารและเรื่องผู้สูงอายุแด่พระสงฆ์ การสนับสนุนการสร้างเครือข่ายของวัด และการจัดพื้นที่และสิ่งแวดล้อมของวัดให้เอื้อต่อผู้สูงอายุ