การประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน แบบจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้า คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้า ของบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีทั้งแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถามปลายปิด ซึ่งสอบถามบุคลากรทั้งหมด จำนวน 95 คน ผลการวิ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ภาณี นาคไร่ขิง, สีตลา กลิ่นมรรคผล, Panee Nakraikhing, Seetala Klinmakphon
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/56388
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้า ของบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีทั้งแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถามปลายปิด ซึ่งสอบถามบุคลากรทั้งหมด จำนวน 95 คน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุน มีความพึงพอใจต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้าอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมทั้งหมดอยู่ที่ 3.71±0.89 และมีความพึงพอใจในวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้า มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับมากอยู่ที่ 3.61±0.82 และเมื่อวิเคราะห์ทางสถิติเผยให้เห็นว่าบุคลากรสายวิชาการ มีระดับความพึงพอใจต่อวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบการจัดทำข้อตกลง การปฏิบัติงานล่วงหน้ามากกว่าบุคลากรสายสนับสนุน โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 นอกจากนี้ผลของงานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบการจัดทำข้อตกลงปฏิบัติการล่วงหน้าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีความสำคัญต่อการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปฏิบัติงานเต็มประสิทธิภาพซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาคณะ อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ควรมีการพัฒนาและประเมินระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความทันสมัย โดยเฉพาะให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีส่วนร่วมในการประเมินเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย แล้วนำมาจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรแบบบูรณาการที่เป็นระบบ มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรและคณะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อระบบการประเมินแบบการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้า