ผลของการดูแลแบบแกงการูต่อระยะเวลาการนอนหลับของทารกเกิดก่อนกำหนด
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการนอนหลับของทารกเกิดก่อน กำหนดขณะได้รับการดูแลแบบแกงการูกับการพยาบาลตามปกติเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบข้ามสลับ (cross over design) กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาและทารก คลอดก่อนกำหนด จำนวน 20 คู่ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากโรงพยาบา...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/56865 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการนอนหลับของทารกเกิดก่อน
กำหนดขณะได้รับการดูแลแบบแกงการูกับการพยาบาลตามปกติเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบข้ามสลับ (cross over design) กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาและทารก
คลอดก่อนกำหนด จำนวน 20 คู่ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่ง
หนึ่งในจังหวัดปทุมธานีระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง กันยายน พ.ศ. 2561 มารดาและทารกแต่ละคู่
ได้รับการสุ่มให้อยู่ในเหตุการณ์ควบคุมหรือเหตุการณ์ทดลองในครั้งแรกและสลับในช่วงถัดไป
ซึ่งการดูแลแบบแกงการูเป็นการอุ้มทารกแนบชิดอกให้ผิวหนังทารกสัมผัสกับผิวหนังมารดา ผู้วิจัย
ทำการบันทึกวีดิทัศน์ตลอดการทดลองเพื่อนำมาประเมินพฤติกรรมการนอนหลับของกลุ่มตัวอย่าง
ตามคู่มือประเมินพฤติกรรมการหลับตื่นของทารกเกิดก่อนกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
paired t-test และสถิติWilcoxon Signed-rank test ผลการศึกษาพบว่า ทารกเกิดก่อนกำหนด
ขณะที่ได้รับการดูแลแบบแกงการูมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาการนอนหลับนานกว่าขณะที่ได้รับการ
พยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้สนับสนุนสมมติฐานการวิจัยและ
เป็นไปตามข้อเสนอขององค์การอนามัยโลกที่ให้การดูแลแบบแกงการูเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า
1 ชั่วโมงและควรทำการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์สูงสุดของการดูแลแบบแกงการ |
---|