รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพของพนักงานขับรถโดยสารประจำทางองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research ; PAR) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพพนักงานขับรภโดยสารองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ ขั้นตอนการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ระยะคือ 1) การประเมินสถานการณ์ปัญหาด...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Research Report |
Language: | Thai |
Published: |
2012
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/58799 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research ; PAR) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพพนักงานขับรภโดยสารองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ ขั้นตอนการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ระยะคือ 1) การประเมินสถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมการทำงาน 2) การพัฒนาแผนโครงการเพื่อแก้ปัญหา 3) การดำเนินงานตามแผนที่กำหนด และ 4) การติดตามประเมินผลโครงการระหว่างดำเนินการและเมื่อสิ้นสุดโครงการ เพื่อแสวงหาความรู้ใหม่จากบทเรียนที่ได้รับในการดำเนินโครงการ การเก็บรวบรวมข้อมูล การศึกษาครั้งนี้ให้วิธีการเชิงคุณภาพผสมผสานกับเชิงปริมาณ ได้แก่ การสังเกตการณ์และการจดบันทึกระหว่างการทำกิจกรรมต่างๆ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มเฉพาะ การใช้แบบสอบถาม และการตรวจคัดกรองสุขภาพ รวมทั้งการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมการทำงาน และการตรวจวัดสุขาภิบาลอาหารและน้ำดื่ม
ผลการวิจัยพบว่า PAR เป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการในการพัฒนาศักยภาพของผู้มีส่วนร่วมในโครงการวิจัยทุกระยะของการดำเนินงาน ส่งผลเชิงบวกในการพัฒนาความรู้และทักษะด้านต่างๆ ของแกนนำและนักวิจัยท้องถิ่น ซึ่งสมารถจัดได้เป็น 5 ระดับ คือ 1) ทักษะในการทำงานเป็นทีม 2) ทักษะในการกำหนดปัญหาของตนเองและองค์กร 3) ทักษะในการวางแผนแก้ไขปัญหา 4) ความสารถในการดำเนินงานตามแผน และ 5) การเพิ่มพลังอำนาในตนเอง กล่าวคือ พนักงานขับรถโดยสาร มีความสารถที่จะแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง จะเห็นได้ว่าการใช้ PAR มีความเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน ที่ขาดพลังอำนาจในตนเอง เช่นพนักงานขับรถโดยสาร |
---|