ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร
การมีสุขภาพดี เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งการส่งเสริมสุขภาพของ บุคคลจะก่อให้เกิดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและการจัดการกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่เหมาะสม การวิจัยเชิงสำรวจ แบบตัดขวางนี้ มุ่งศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร โดยสุ...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60271 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การมีสุขภาพดี เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งการส่งเสริมสุขภาพของ บุคคลจะก่อให้เกิดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและการจัดการกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่เหมาะสม การวิจัยเชิงสำรวจ แบบตัดขวางนี้ มุ่งศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มศึกษาเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2560 ใน มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 320 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย คำถามเกี่ยวกับข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลและสังคม ค่านิยม การรับรู้ความสามารถตนเอง ปัจจัยเอื้อ ปัจจัย เสริมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติพฤติกรรม และพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบไค-สแควร์ (Chi - square) ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นชายมากกว่าหญิง คือเป็นนักศึกษาชายร้อยละ 74.1 และนักศึกษาหญิงร้อยละ 25.9 มีอายุอยู่ระหว่าง 18-38 ปี อายุเฉลี่ย 21.7 ปี กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 20-24 ปี ร้อยละ 61.3 ส่วนใหญ่ ศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร้อยละ 72.5 และระหว่างเรียนพักอยู่ที่หอพัก ร้อยละ 59.1 กลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญ่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายอยู่ในระดับที่ควรปรับปรุง ร้อยละ 76.3 และ 72.8 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสคัญทางสถิติ คือ ค่านิยมในการบริโภคอาหาร และ การรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ (p ≤ 0.05) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้ความสามารถตนเองในการออกกำลังกาย ส่วนปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมที่ศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับทั้งพฤติกรรมการบริโภค อาหารและการออกกำลังกาย ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงควรจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของทุกคณะร่วมกัน โดยเฉพาะนักศึกษาใหม่และนักศึกษาต่อเนื่อง และเน้นกิจกรรมการสร้างค่านิยมและการรับรู้ความสามารถตนเองในการกระทำพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ |
---|