ผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบึงบอน อําเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นมาตรการป้องกันและบริการฟรี ในการจัดบริการสุขภาพ แต่สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ยังเข้ารับการตรวจคัดกรองน้อย การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงบอน อำเภอหนองเสือ จังหวัด...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60278 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นมาตรการป้องกันและบริการฟรี ในการจัดบริการสุขภาพ แต่สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ยังเข้ารับการตรวจคัดกรองน้อย การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงบอน อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีอายุ 30-60 ปี จำนวน 66 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 33 คน กลุ่ม ทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษานาน 6 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อน - หลังการทดลองด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t-test, Independent t-test และ Z-test
ภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งปากมดลูก และการรับรู้ประโยชน์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และรับรู้อุปสรรคของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) นอกจากนี้ กลุ่มทดลองมาเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (72.7% vs 36.4%, p=0.007) ดังนั้น โปรแกรมสุขศึกษา นี้สามารถช่วยให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี มาเข้ารับการตรวจคัดกรองมากขึ้น จึงควรบูรณาการไว้ ในงานประจำเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต่อไป |
---|