การประยุกต์ทฤษฎีปัญญาสังคม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการบริโภคอาหารสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 57 คน ใช้วิธีการคัดเลือกตามเกณฑ์และสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 28 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 29 คน กลุ่มทดลองได้รับ กิจกรรมตามโปรแกรมส่งเสริ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ขวัญฉัตร์ ภิวัฒน์พงษ์กุล, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, Kwannchat Piwatphungkul, Manirat Therawiwat
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60283
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการบริโภคอาหารสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 57 คน ใช้วิธีการคัดเลือกตามเกณฑ์และสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 28 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 29 คน กลุ่มทดลองได้รับ กิจกรรมตามโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ประยุกต์ตามกรอบทฤษฎีปัญญาสังคมเป็นเวลา 9 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรมการสร้างเสริมความรู้โดยการบรรยายประกอบสไลด์และสื่อวิดิทัศน์ การทำกิจกรรมกลุ่มตามใบงาน นำเสนอและอภิปรายกลุ่ม การเรียนรู้ผ่านเกมเกี่ยวกับอาหารสำหรับเด็กวัยเรียน การพัฒนาทักษะโดยการฝึกปฏิบัติการเลือกอาหารที่เหมาะสมและการประกอบอาหารทานเอง การแสดง บทบาทสมมุติ และการเรียนรู้จากตัวแบบจริงและสัญลักษณ์ การเขียนเรียงความ วาดภาพระบายสี และการ ได้รับคำชมเชย พูดจูงใจโดยผู้วิจัย การส่งข้อความกระตุ้นเตือนและคำแนะนำที่เหมาะสมเฉพาะรายบุคคล และการใช้สมุดกิจกรรมสื่อสารกับผู้ปกครอง เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร เจตคติต่อการบริโภคอาหาร การรับรู ้ความสามารถตนเองต่อการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ สูงกว่าก่อน การทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่p<0.05 สรุปได้ว่า โปรแกรมส่งเสริม พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ประยุกต์ทฤษฎีปัญญาสังคมมีผลทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีการ เปลี่ยนแปลงความรู้ เจตคติ การรับรู้ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการถูกต้องมากขึ้น จึง สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์กับเด็กวัยเรียนกลุ่มอื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกัน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องเพื่อการมีสุขภาพที่ดี