ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแบบแผนการบริโภคอาหารของเด็กเตี้ย อายุระหว่าง 10-12 ปี
การวิจัยเชิงสำรวจแบบ Cross-sectional study ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแบบแผนการบริโภคอาหารของเด็กเตี้ยอายุ 10-12 ปี อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ประชากร จำนวน 710 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Cluster Random Sampling กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กเตี้ยและค่อนข้างเตี้ย อาย...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60295 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยเชิงสำรวจแบบ Cross-sectional study ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแบบแผนการบริโภคอาหารของเด็กเตี้ยอายุ 10-12 ปี อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ประชากร จำนวน 710 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Cluster Random Sampling กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กเตี้ยและค่อนข้างเตี้ย อายุ 10-12 ปี จำนวน 183 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบคัดกรองเด็กเตี้ยและค่อนข้างเตี้ย (2) แบบสอบถามด้านปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม (3) แบบบันทึกอาหารบริโภค เป็นเวลา 3 วัน ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามปัจจัยนำด้านการรับรู้ปัจจัยส่งเสริมการเจริญเติบโตและด้านการบริโภคอาหาร เท่ากับ 0.705 ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Independent-sample t-test และ Chi-Square test.
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กเตี้ย-สมส่วน ร้อยละ 68.86 ผลการวิเคราะห์ ปัจจัยนำพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 56.83 อาศัยในครอบครัวเดี่ยว ร้อยละ 63.94 ด้านการรับรู้ ส่วนใหญ่มีระดับการรับรู้ดี (X ̅ =2.49-3.25) ร้อยละ 80.87 ปัจจัยเอื้อ เด็กได้รับเงินไปโรงเรียนน้อยกว่า/เท่ากับ 10 บาท ร้อยละ 57.37 นำเงินไปใช้จ่ายขนม ร้อยละ 88.50 กินอาหารกลางวันที่โรงเรียนจัดให้ทุกวัน ร้อยละ 94.00 ดื่มนมโรงเรียนเป็นบางวัน ร้อยละ 56.30 ปัจจัยเสริมส่วนใหญ่ผู้จัดเตรียมอาหารคือ แม่ ร้อยละ 85.79 เด็กได้รับการดูแลในการบริโภคอาหารจาก ผู้ปกครอง คือ จัดเตรียมอาหารไว้ให้ ส่วนเด็กจะกินหรือไม่นั้นตามใจเด็ก ร้อยละ 45.90 ส่วนใหญ่เด็กไม่ได้รับอาหาร ว่าง ร้อยละ 84.70 แบบแผนการบริโภคอาหาร เด็กเตี้ยทั้งหมดกินอาหารกลุ่มข้าว-แป้ง 3.83±0.88 ทัพพี ผัก 2.59±1.34 ช้อน ผลไม้ 0.53±0.66 ส่วน นมจืดครบส่วน 0.51±0.34 ส่วน และน้ำมัน 3.45±3.09 กรัม ต่ำกว่าส่วน บริโภคที่แนะนำตามกลุ่มอาหารของธงโภชนาการ ยกเว้นกลุ่มเนื้อสัตว์กินตามส่วนบริโภค 6.41±1.50 ช้อน เมื่อ เปรียบเทียบปริมาณการกินระหว่างเด็กเตี้ย-ผอม กับ เตี้ย-สมส่วน พบว่าเด็ก 2 กลุ่ม กินอาหารกลุ่มข้าว-แป้ง เนื้อสัตว์ และนมจืดครบส่วนแตกต่างกัน (p<0.05) โดยพบว่าเด็กเตี้ยทั้ง 2 กลุ่ม กินอาหารไม่เพียงพอ แต่เด็กเตี้ย-สมส่วน ยังกินอาหารในปริมาณที่ดีกว่าเด็กเตี้ย-ผอม ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบปัจจัยนำด้านเพศมีความสัมพันธ์กับ การได้รับโปรตีนและสังกะสี (p=0.02) |
---|